วันเสาร์ที่ 5 เมษายน พ.ศ. 2551

กิฟฟารีนจะเชิญคนไทยมาเป็น “ผู้ใช้สินค้า”

กิฟฟารีนจะเชิญคนไทยมาเป็น “ผู้ใช้สินค้า” ไม่ใช่ “ผู้ขาย”

กิฟฟารีน
• มี Licence of Netowrk และมีการคุ้มครองลิขสิทธิ์เครือข่าย (Protection of Network) อย่างสมบูรณ์แบบ
• มีความชัดเจนในการสร้างแบรนด์อย่างต่อเนื่อง ทั้งแบรนด์ของธุรกิจและแบรนด์ของผลิตภัณฑ์
• มีผลิตภัณฑ์ครอบคลุมทุกกลุ่มเป้าหมาย ทุกเศรษฐานะ และมีแนวทางการนำเสนอผลิตภัณฑ์อันเป็นที่ยอมรับโดยสากล (มีการแสดงแหล่งที่มาของวัตถุดิบและมีผลงานวิจัยหลายผลงานรับรอง) โดยผลิตภัณฑ์ส่วนใหญ่ผลิตโดยบริษัทในเครือ
• มีผลประกอบการที่สามารถอธิบายถึงการเติบโตในอนาคต โดยปี 2549 มียอดจำหน่ายสูงถึง 3,400 ล้านบาท คิดเป็นอัตราการเติบโตประมาณ 18% จากปีที่ผ่านมา
• ให้ผลตอบแทนคืนกลับแก่นักธุรกิจสูงที่สุดในประเทศไทย โดยมียอดจำหน่ายถึงปัจจุบันกว่า 24,00 ล้านบาท และมอบรายได้แก่นักธุรกิจกิฟฟารีนกว่า 9,500 ล้านบาท (ณ มิย. 2550)
• ได้ทำการเสียภาษีในอัตราก้าวหน้าในส่วนของเงินปันผลแทนนักธุรกิจ
• สร้างโอกาสอันเป็นไปได้จริงของมรดกตกทอดที่มอบให้แก่ทายาทนักธุรกิจเครือข่าย
• มีระบบสนับสนุนทางการตลาดที่เปี่ยมประสิทธิภาพ เช่น -สถาบันพัฒนานักธุรกิจอิสระกิฟฟารีน
- ศูนย์ธุรกิจพร้อมห้องประชุมกว่า 94 สาขา เพื่อรองรับการเจริญเติบโตของนักธุรกิจทั่วประเทศ
- การแสดงผลการตรวจสอบคุณภาพเครือข่าย (Network Monitoring) เพื่อให้นักธุรกิจกิฟฟารีนสามารถ ตรวจสอบวิเคราะห์และสามารถติดตามคุณภาพของเครือข่ายได้ จึงทำให้นักธุรกิจกิฟฟารีนประสบความสำเร็จโดยมีต้นทุนในการทำงานที่น้อยที่สุด
กิฟฟารีน มีการจัดจำหน่ายสินค้าคุณภาพมาตรฐานสากลในราคาที่ยุติธรรมกว่า 2,000 รายการ ทำให้ผู้บริโภคส่วนใหญ่ สามารถซื้อใช้และซื้อซ้ำได้ตลอดไป อันเป็นที่มาของรายได้ที่มั่นคง ยั่งยืนและเป็นมรดกตกทอดแก่ทายาททางธุรกิจอย่างแท้จริง
เนื่องจากธุรกิจกิฟฟารีนเป็นธุรกิจที่มีการแนะนำต่อๆกัน ดังนั้น ผู้ที่สนใจจะเข้าร่วมธุรกิจจะต้องมี “upline” หรือ “ผู้แนะนำ” ที่เป็นนักธุรกิจกิฟฟารีนอยู่แล้ว การสมัครจึงถือว่าสมบูรณ์
ผู้แนะนำ คือ ผู้ที่มอบแนวทาง รวมทั้งช่วยเหลือในระยะต้นของการดำเนินธุรกิจ เพื่อท่านจะได้มีความรู้ ความเข้าใจที่ถูกต้องในการขยายงาน อีกทั้งยังช่วยประคับประคองท่านให้ก้าวไปสู่ความสำเร็จ ดังนั้น ท่านผู้มีเกียรติจะต้องเลือกผู้แนะนำด้วยตนเอง โดยพิจารณาอย่างดีที่สุดจากผู้นำกิฟฟารีนที่มีเจตทัศนคติ อุปนิสัย และภูมิลำเนาใกล้เคียงกับตัวท่าน และท่านสามารถพบผู้แนะนำกิฟฟารีนได้ที่งานประชุมของบริษัทฯ หรือกิจกรรมอื่นๆของกิฟฟารีน
เมื่อเลือกผู้แนะนำ และสมัครเป็นนักธุรกิจของกิฟฟารีนแล้ว ท่านไม่ควรเปลี่ยนแปลงผู้แนะนำ เพราะนี่คือจรรยาบรรณที่สำคัญที่สุดของธุรกิจขายตรงหลายชั้น
โดยสิ่งที่จะสร้างความสำเร็จให้ท่านผู้มีเกียรติได้ดีที่สุด คือ การมีเป้าหมายที่ชัดเจน สำหรับอนาคตที่ท่านต้องการ มีความเชื่อมั่นในตนเอง มีวิธีการทำงานที่ถูกต้อง และมุ่งมั่นที่จะพัฒนาความรู้ความสามารถของตนเอง

กิฟฟารีนจะเชิญคนไทยมาเป็น “ผู้ใช้สินค้า” ไม่ใช่ “ผู้ขาย”

กิฟฟารีน
• มี Licence of Netowrk และมีการคุ้มครองลิขสิทธิ์เครือข่าย (Protection of Network) อย่างสมบูรณ์แบบ
• มีความชัดเจนในการสร้างแบรนด์อย่างต่อเนื่อง ทั้งแบรนด์ของธุรกิจและแบรนด์ของผลิตภัณฑ์
• มีผลิตภัณฑ์ครอบคลุมทุกกลุ่มเป้าหมาย ทุกเศรษฐานะ และมีแนวทางการนำเสนอผลิตภัณฑ์อันเป็นที่ยอมรับโดยสากล (มีการแสดงแหล่งที่มาของวัตถุดิบและมีผลงานวิจัยหลายผลงานรับรอง) โดยผลิตภัณฑ์ส่วนใหญ่ผลิตโดยบริษัทในเครือ
• มีผลประกอบการที่สามารถอธิบายถึงการเติบโตในอนาคต โดยปี 2549 มียอดจำหน่ายสูงถึง 3,400 ล้านบาท คิดเป็นอัตราการเติบโตประมาณ 18% จากปีที่ผ่านมา
• ให้ผลตอบแทนคืนกลับแก่นักธุรกิจสูงที่สุดในประเทศไทย โดยมียอดจำหน่ายถึงปัจจุบันกว่า 24,00 ล้านบาท และมอบรายได้แก่นักธุรกิจกิฟฟารีนกว่า 9,500 ล้านบาท (ณ มิย. 2550)
• ได้ทำการเสียภาษีในอัตราก้าวหน้าในส่วนของเงินปันผลแทนนักธุรกิจ
• สร้างโอกาสอันเป็นไปได้จริงของมรดกตกทอดที่มอบให้แก่ทายาทนักธุรกิจเครือข่าย
• มีระบบสนับสนุนทางการตลาดที่เปี่ยมประสิทธิภาพ เช่น -สถาบันพัฒนานักธุรกิจอิสระกิฟฟารีน
- ศูนย์ธุรกิจพร้อมห้องประชุมกว่า 94 สาขา เพื่อรองรับการเจริญเติบโตของนักธุรกิจทั่วประเทศ
- การแสดงผลการตรวจสอบคุณภาพเครือข่าย (Network Monitoring) เพื่อให้นักธุรกิจกิฟฟารีนสามารถ ตรวจสอบวิเคราะห์และสามารถติดตามคุณภาพของเครือข่ายได้ จึงทำให้นักธุรกิจกิฟฟารีนประสบความสำเร็จโดยมีต้นทุนในการทำงานที่น้อยที่สุด
กิฟฟารีน มีการจัดจำหน่ายสินค้าคุณภาพมาตรฐานสากลในราคาที่ยุติธรรมกว่า 2,000 รายการ ทำให้ผู้บริโภคส่วนใหญ่ สามารถซื้อใช้และซื้อซ้ำได้ตลอดไป อันเป็นที่มาของรายได้ที่มั่นคง ยั่งยืนและเป็นมรดกตกทอดแก่ทายาททางธุรกิจอย่างแท้จริง
เนื่องจากธุรกิจกิฟฟารีนเป็นธุรกิจที่มีการแนะนำต่อๆกัน ดังนั้น ผู้ที่สนใจจะเข้าร่วมธุรกิจจะต้องมี “upline” หรือ “ผู้แนะนำ” ที่เป็นนักธุรกิจกิฟฟารีนอยู่แล้ว การสมัครจึงถือว่าสมบูรณ์
ผู้แนะนำ คือ ผู้ที่มอบแนวทาง รวมทั้งช่วยเหลือในระยะต้นของการดำเนินธุรกิจ เพื่อท่านจะได้มีความรู้ ความเข้าใจที่ถูกต้องในการขยายงาน อีกทั้งยังช่วยประคับประคองท่านให้ก้าวไปสู่ความสำเร็จ ดังนั้น ท่านผู้มีเกียรติจะต้องเลือกผู้แนะนำด้วยตนเอง โดยพิจารณาอย่างดีที่สุดจากผู้นำกิฟฟารีนที่มีเจตทัศนคติ อุปนิสัย และภูมิลำเนาใกล้เคียงกับตัวท่าน และท่านสามารถพบผู้แนะนำกิฟฟารีนได้ที่งานประชุมของบริษัทฯ หรือกิจกรรมอื่นๆของกิฟฟารีน
เมื่อเลือกผู้แนะนำ และสมัครเป็นนักธุรกิจของกิฟฟารีนแล้ว ท่านไม่ควรเปลี่ยนแปลงผู้แนะนำ เพราะนี่คือจรรยาบรรณที่สำคัญที่สุดของธุรกิจขายตรงหลายชั้น
โดยสิ่งที่จะสร้างความสำเร็จให้ท่านผู้มีเกียรติได้ดีที่สุด คือ การมีเป้าหมายที่ชัดเจน สำหรับอนาคตที่ท่านต้องการ มีความเชื่อมั่นในตนเอง มีวิธีการทำงานที่ถูกต้อง และมุ่งมั่นที่จะพัฒนาความรู้ความสามารถของตนเอง

กิฟฟารีนจะเชิญคนไทยมาเป็น “ผู้ใช้สินค้า” ไม่ใช่ “ผู้ขาย”

กิฟฟารีน
• มี Licence of Netowrk และมีการคุ้มครองลิขสิทธิ์เครือข่าย (Protection of Network) อย่างสมบูรณ์แบบ
• มีความชัดเจนในการสร้างแบรนด์อย่างต่อเนื่อง ทั้งแบรนด์ของธุรกิจและแบรนด์ของผลิตภัณฑ์
• มีผลิตภัณฑ์ครอบคลุมทุกกลุ่มเป้าหมาย ทุกเศรษฐานะ และมีแนวทางการนำเสนอผลิตภัณฑ์อันเป็นที่ยอมรับโดยสากล (มีการแสดงแหล่งที่มาของวัตถุดิบและมีผลงานวิจัยหลายผลงานรับรอง) โดยผลิตภัณฑ์ส่วนใหญ่ผลิตโดยบริษัทในเครือ
• มีผลประกอบการที่สามารถอธิบายถึงการเติบโตในอนาคต โดยปี 2549 มียอดจำหน่ายสูงถึง 3,400 ล้านบาท คิดเป็นอัตราการเติบโตประมาณ 18% จากปีที่ผ่านมา
• ให้ผลตอบแทนคืนกลับแก่นักธุรกิจสูงที่สุดในประเทศไทย โดยมียอดจำหน่ายถึงปัจจุบันกว่า 24,00 ล้านบาท และมอบรายได้แก่นักธุรกิจกิฟฟารีนกว่า 9,500 ล้านบาท (ณ มิย. 2550)
• ได้ทำการเสียภาษีในอัตราก้าวหน้าในส่วนของเงินปันผลแทนนักธุรกิจ
• สร้างโอกาสอันเป็นไปได้จริงของมรดกตกทอดที่มอบให้แก่ทายาทนักธุรกิจเครือข่าย
• มีระบบสนับสนุนทางการตลาดที่เปี่ยมประสิทธิภาพ เช่น -สถาบันพัฒนานักธุรกิจอิสระกิฟฟารีน
- ศูนย์ธุรกิจพร้อมห้องประชุมกว่า 94 สาขา เพื่อรองรับการเจริญเติบโตของนักธุรกิจทั่วประเทศ
- การแสดงผลการตรวจสอบคุณภาพเครือข่าย (Network Monitoring) เพื่อให้นักธุรกิจกิฟฟารีนสามารถ ตรวจสอบวิเคราะห์และสามารถติดตามคุณภาพของเครือข่ายได้ จึงทำให้นักธุรกิจกิฟฟารีนประสบความสำเร็จโดยมีต้นทุนในการทำงานที่น้อยที่สุด
กิฟฟารีน มีการจัดจำหน่ายสินค้าคุณภาพมาตรฐานสากลในราคาที่ยุติธรรมกว่า 2,000 รายการ ทำให้ผู้บริโภคส่วนใหญ่ สามารถซื้อใช้และซื้อซ้ำได้ตลอดไป อันเป็นที่มาของรายได้ที่มั่นคง ยั่งยืนและเป็นมรดกตกทอดแก่ทายาททางธุรกิจอย่างแท้จริง
เนื่องจากธุรกิจกิฟฟารีนเป็นธุรกิจที่มีการแนะนำต่อๆกัน ดังนั้น ผู้ที่สนใจจะเข้าร่วมธุรกิจจะต้องมี “upline” หรือ “ผู้แนะนำ” ที่เป็นนักธุรกิจกิฟฟารีนอยู่แล้ว การสมัครจึงถือว่าสมบูรณ์
ผู้แนะนำ คือ ผู้ที่มอบแนวทาง รวมทั้งช่วยเหลือในระยะต้นของการดำเนินธุรกิจ เพื่อท่านจะได้มีความรู้ ความเข้าใจที่ถูกต้องในการขยายงาน อีกทั้งยังช่วยประคับประคองท่านให้ก้าวไปสู่ความสำเร็จ ดังนั้น ท่านผู้มีเกียรติจะต้องเลือกผู้แนะนำด้วยตนเอง โดยพิจารณาอย่างดีที่สุดจากผู้นำกิฟฟารีนที่มีเจตทัศนคติ อุปนิสัย และภูมิลำเนาใกล้เคียงกับตัวท่าน และท่านสามารถพบผู้แนะนำกิฟฟารีนได้ที่งานประชุมของบริษัทฯ หรือกิจกรรมอื่นๆของกิฟฟารีน
เมื่อเลือกผู้แนะนำ และสมัครเป็นนักธุรกิจของกิฟฟารีนแล้ว ท่านไม่ควรเปลี่ยนแปลงผู้แนะนำ เพราะนี่คือจรรยาบรรณที่สำคัญที่สุดของธุรกิจขายตรงหลายชั้น
โดยสิ่งที่จะสร้างความสำเร็จให้ท่านผู้มีเกียรติได้ดีที่สุด คือ การมีเป้าหมายที่ชัดเจน สำหรับอนาคตที่ท่านต้องการ มีความเชื่อมั่นในตนเอง มีวิธีการทำงานที่ถูกต้อง และมุ่งมั่นที่จะพัฒนาความรู้ความสามารถของตนเอง







ท่านที่ต้องการทำงานออนไลน์ สมัครสมาชิกกับเราคลิก

ท่านที่ต้องการทำงานออนไลน์

สมัครสมาชิกกับเราคลิก

ยินดีต้อนรับทุกท่าน

สมัครสมาชิก Giffarine แล้วดีอย่างไร

ลงทุนน้อย ด้วยค่าสมัครเพียง 160 บาท ตลอดชีพ และสิทธิประโยชน์ในการซื้อผลิตภัณฑ์กิฟฟารีนมากมายกว่า 2,000 รายการ ในราคาพิเศษ ลด 25% พร้อมเริ่มต้นทำธุรกิจได้ทันที
ปราศจากความเสี่ยงในการลงทุน ด้วยศักยภาพของศูนย์ธุรกิจกิฟฟารีน กว่า 92 สาขาทั่วประเทศ และการให้บริการจัดส่งสินค้า “GIFFARINE DELIVERY” ทำให้นักธุรกิจไม่ต้องลงทุนซื้อสินค้าครั้งละมากๆ หรือลงทุนเปิดศูนย์ธุรกิจเอง
ไม่ต้องมีประสบการณ์ สามารถเข้ารับการอบรมกับสถาบันพัฒนานักธุรกิจกิฟฟารีนที่พร้อมจะถ่ายทอดประสบการณ์ตรงและหลักวิธีการทำธุรกิจที่ชัดเจน โดยวิทยากรผู้เชี่ยวชาญได้เป็นประจำทุกสัปดาห์ โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย ซึ่งเป็นสถาบันพัฒนานักธุรกิจอิสระที่ดีที่สุด
ทำได้ไม่ยาก แม้ในผู้ที่ไม่ถนัดงานขาย เพราะธุรกิจกิฟฟารีน คือการบอกเล่าความประทับใจในตัวสินค้าที่ตนเองใช้ให้แก่คนรอบข้าง เพื่อสร้างเครือข่ายผู้บริโภค ให้เกิดการซื้อสินค้าใช้ในชีวิตประจำวันอย่างต่อเนื่อง
ทำร่วมกับงานประจำได้ เพียงจัดสรรเวลาวันละ 2-3 ชั่วโมง ในการสร้างเครือข่ายผู้บริโภคสินค้า และติดตามดูแลอย่างสม่ำเสมอ เพื่อการคืนกลับมาของรายได้ที่จะเพิ่มมากขึ้นในอนาคต
ได้เป็นเจ้าของกิจการ ด้วยการเป็นเจ้าของศูนย์ธุรกิจกิฟฟารีนทั้ง 92 สาขา ที่มีสินค้าคุณภาพจำหน่ายกว่า 2,000 รายการที่ครอบคลุมทุกกลุ่มเป้าหมาย โดยสามารถบริหารจัดการองค์กรของตนเองอย่างเป็นอิสระ และได้รับการสนับสนุนทางการตลาดอย่างต่อเนื่อง จึงทำให้มีรายได้และสร้างกำไรนับตั้งแต่เดือนแรกที่ทำธุรกิจ
มีรายได้ที่ดีในระยะเวลาอันสั้น และมั่นคงในระยะยาว ด้วยแผนการจ่ายผลตอบแทนที่คุ้มค่า ยุติธรรม และถูกต้องตามกฎหมาย ทำให้มีผู้สนใจทำธุรกิจเป็นจำนวนมากส่งผลให้ยอดจำหน่ายที่ผ่านมาสูงถึง 20,000 ล้านบาท และได้มอบรายได้ให้แก่นักธุรกิจกิฟฟารีนไปแล้วกว่า 8,300 ล้านบาท
เป็นมรดกทางธุรกิจ ด้วยการส่งมอบเครือข่าย และรายได้จากธุรกิจให้แก่ทายาทได้ในอนาคต
มีความมั่นคงทางธุรกิจ บริษัทกิฟฟารีนฯ ก่อตั้งด้วยการลงทุนเงินสดจำนวน 100 ล้านบาท จึงปราศจากภาระหนี้สิน และมีผลประกอบการที่เติบโตขึ้นทุกปี ปีละไม่ต่ำกว่า 10% ปัจจุบันมีทรัพย์สินโดยรวม ประมาณ 5,000 ล้านบาท
โทรถามที่ 089-1350302 หรือ 085-9042600

เป็นสมาชิกกิฟฟารีน

คำอธิบายที่ง่ายที่สุดของ Multi Level Marketing ก็คือ การทำให้ชีวิตประจำวันในการใช้ผลิตภัณฑ์ของเรา แปรเปลี่ยนเป็นรายได้ ความภูมิใจ และความสำเร็จ

แตกต่างจากการค้าปลีก...หากแต่เป็นอีกวิธีการหนึ่งซึ่งสินค้าที่เราใช้ จะถูกแนะนำจากเพื่อน จากญาติพี่น้อง จากคนที่รักเราและเรารัก ด้วยความมั่นใจในการทดลองใช้เองของเขาเหล่านั้น ความชื่นชมในตัวสินค้า จะถูกแนะนำต่อๆ กันไปและรายได้ที่คืนกลับมาให้ทุกคน คือส่วนที่ไม่ต้องเสียไปในช่องทางค้าปลีก

ที่บ้านสีฟ้า ประเด็นที่เรามอง คือ ความสุขจากความรักและความผูกพันเสมือนเป็นครอบครัวใหญ่...เสมือนเราทุกคนเป็นญาติพี่น้องรายได้และความสำเร็จคือสิ่งที่จะตามมา ภายหลังความภาคภูมิใจที่เราได้ช่วยให้กันและกันมีชีวิตที่ดีขึ้น และได้พบกับความฝันที่สัมผัสได้

ความเข้าใจในหัวใจของคนไทย ทำให้ทุกคนในครอบครัวของกิฟฟารีน ทำงานด้วยความสุข ไม่มีการบีบบังคับ หรือกดดันด้วยการลงทุนที่กลายเป็นบาดแผลของชีวิต

ในบ้านสีฟ้า...ทุกคนเลือกได้ว่า วันนี้เราจะพอใจที่รายได้เท่าใด ในเวลาและเงื่อนไขอย่างไร ด้วยความสุขและความอุ่นใจ

เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับ โคลีน และ วิตามิน บี คอมเพล็กซ์



เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับ โคลีน และ วิตามิน บี คอมเพล็กซ์


สรุปคุณสมบัติของโคลีน
1. เป็นสารอาหารที่จำเป็น และช่วยในการทำงานของระบบประสาท เช่น ความจำ และการทำงานของกล้ามเนื้อ
2. ช่วยในการขนส่งไขมันและโคเลสเตอรอล ช่วยป้องกันไขมันอุดตันในเส้นเลือดและหลอดเลือดหัวใจ
3. ช่วยในการทำงานของตับให้เป็นปกติ การขาดโคลีนในสัตว์ทดลอง ทำให้มีไขมันสะสมในตับ และนำไปสู่การเป็นมะเร็งตับ

สรุปคุณสมบัติของ วิตามิน บี คอมเพล็กซ์
1. ช่วยในการทำงานของระบบประสาททั้งหมดในร่างกาย
2. ช่วยรักษาโรคที่เกิดจากการขาดวิตามินบี เช่น เหน็บชา เส้นประสาทอักเสบ ตากระตุก ปากนกกระจอก ผิวหนังหยาบ ผิวหนังอักเสบ ลิ้นอักเสบ และโลหิตจางจากการขาดวิตามินบี

โคลีน
โคลีนเป็นสารอาหารสำคัญตัวหนึ่งที่มีความจำเป็นต่อร่างกาย มีความสำคัญต่อความสมบูรณ์ของโครงสร้างของผนังเซลล์ ( Structural integrity of cell membranes ) เมตาบอลิสมของเมธิล ( Methyl metabolism ) การส่งผ่านของกระแสประสาท ( Cholinergic neurotransmission ) การส่งสัญญาณผ่านผนังเซลล์ ( Transmembrane signaling ) และ เมตาบอลิสม กับ การขนส่ง ของไขมันและโคเลสเตอรอล ( อ้างอิงที่ 1 )
โคลีนเป็นสารตั้งต้นหลักในการสังเคราะห์สารสื่อประสาทที่มีชื่อว่า อะเซททิลโคลีน (Acetylcholine) ซึ่ง Acetylcholine นี้เป็นสารสื่อประสาทสำคัญที่เกี่ยวข้องกับความจำ การควบคุมกล้ามเนื้อ และหน้าที่อื่น ๆ อีกหลายอย่าง ( อ้างอิงที่ 1 ) ดังนั้น โคลีนจึงมีผลต่อขบวนการส่งกระแสประสาทที่เกี่ยวข้องกับความจำและการรับรู้ เรียกได้ว่ามีบทบาทในพัฒนาการด้านการเรียนรู้ โดยเฉพาะระบบความจำ ( อ้างอิงที่ 2 ) รวมถึงมีการศึกษาในการใช้เพื่อป้องกันและรักษาโรคความจำเสื่อม ( Alzheimer’s disease ) ด้วย ( อ้างอิงที่ 3 )
บทบาทสำคัญอีกประการหนึ่งของโคลีนคือ ทำให้ตับสามารถทำการขนถ่ายไขมันได้ ( Fat transportation ) และลดการสะสมไขมันในตับ ( Hepatic steastosis ) การทดลองในหนูพบว่า หากขาดโคลีนก็จะเกิดการสะสมไขมันที่ตับ ( อ้างอิงที่ 4 ) การศึกษาวิจัยในคน ก็พบว่า ผู้ที่ได้รับอาหารทางเส้นเลือด และมีการขาดโคลีนก็จะเพิ่มไขมันสะสมในตับเช่นกัน และยังมีระดับเอนไซม์ของตับสูงขึ้น ซึ่งเป็นอาการของภาวะตับอักเสบอีกด้วย และเมื่อได้รับ โคลีนก็จะลดการสะสมไขมัน และลดการอักเสบของตับได้จริง ( อ้างอิงที่ 5 ) สำหรับสัตว์ทดลอง เช่น หนู สภาวะที่ตับมีไขมันสะสมนี้ ยังร่วมไปกับ เพิ่มอัตราการเป็นมะเร็งที่ตับได้ ( อ้างอิงที่ 6 ) ในทางกลับกัน เมื่อหนูทดลองเหล่านี้ได้รับ โคลีน เสริม ก็ลดการเกิดมะเร็งในตับได้เช่นกัน ( อ้างอิงที่ 7 )

นอกจากประโยชน์ดังกล่าวข้างต้นแล้ว โคลีน ยังมีประโยชน์ในด้านช่วยป้องกันไขมันอุดตันในเส้นเลือดและหลอดเลือดหัวใจ ด้วย ( อ้างอิงที่ 1 )

ปริมาณที่เพียงพอต่อร่างกายใน 1 วัน ( Adequate Intake ) สำหรับผู้ใหญ่ เพศชาย และ หญิง คือ 550 mg และ 425 mg ตามลำดับ ( อ้างอิงที่ 1 ) มีรายงานการวิจัยถึงผลกระทบของการขาดโคลีนในมนุษย์ว่าจะมีผลทำให้ปริมาณโคลีนลดลงและเกิดความเสียหายต่อตับได้ ( อ้างอิงที่ 8 , 9)

วิตามินบี-คอมเพล็กซ์ คืออะไร
วิตามินบี-คอมเพล็กซ์ หรือ วิตามินบีรวมเป็นกลุ่มของวิตามินที่มีความจำเป็นต่อเส้นประสาทและความสมบูรณ์ของอวัยวะต่าง ๆ ช่วยบำรุงร่างกาย ผิวหนังและระบบประสาท วิตามินบีรวมประกอบด้วย วิตามินบี1 ( Thiamine ) , วิตามินบี 2 ( Riboflavin ) , วิตามินบี 3 ( Niacin ) , วิตามินบี 5 ( Pantothenic acid ) , วิตามินบี 6 ( Pyridoxin ) , วิตามินบี 12 ( Cyanocobalamin ) นอกจากนี้ยังมี กรดโฟลิค ( Folic acid ) โคลีน ( Choline ) อิโนซิทอล ( Inositol ) และ ไบโอติน ( Biotin ) อีกด้วย ( อ้างอิงที่ 10 )

วิตามินบีต่าง ๆ มีหน้าที่ดังต่อไปนี้
วิตามินบี1 ( Thiamine ) มีความสำคัญต่อเมตาบอลิสมของคาร์โบไฮเดรต
หากขาดจะทำให้เกิดโคเหน็บชา และจะแสดงอาการที่เกี่ยวข้องกับระบบประสาท ระบบหัวใจและหลอดเลือด ทางระบบประสาทจะมีอาการชาตามมือตามเท้า
ตากระตุก แขนขาอ่อนแรง ส่วนอาการทางสมองพบว่า เนื้อสมองจะถูกทำลาย ผู้ป่วยจะมีอาการความจำเสื่อม ซึมเศร้า กระสับกระส่าย ทางระบบหัวใจและหลอดเลือดพบว่า หัวใจเต้นเร็ว ใจสั่น หัวใจมีขนาดโตขึ้นและมีความผิดปกติของการบันทึกคลื่นหัวใจ ( อ้างอิงที่ 10 )

วิตามินบี2 ( Riboflavin ) มีความจำเป็นต่อการหายใจของเซลล์เมตาบอลิสมของคาร์โบไฮเดรตและไขมัน เป็น co-enzyme ในการเปลี่ยนวิตามินบี 6 และกรดโฟลิค ให้อยู่ในรูป active ทั้งยังทำหน้าที่รักษาสภาพของเยื่อบุผิวและ mucosa ให้เป็นปกติ
หากขาด จะมีอาการแสดงทางตา ริมฝีปากและผิวหนัง เริ่มแรกนั้นริมฝีปากจะอักเสบ แห้งและแตก มุมปากจะซีด แตก เรียกลักษณะดังกล่าวว่าปากนกกระจอก ( Angular stomatitis ) และเมื่อเป็นมากขึ้น จะมีอาการทางผิวหนัง ใบหน้ามีสะเก็ดมัน ๆ ต่อมาจะมีอาการอักเสบของตา ตาสู้แสงไม่ได้ คันตาและแสบลูกตา ( อ้างอิงที่ 10 )

วิตามินบี 3 ( Niacin )
มีบทบาทในกระบวนการ Glycolysis, Krebs cycle และการสังเคราะห์กรดไขมัน
หากขาด จะมีผลต่อระบบประสาท โดยมีผลต่อระบบประสาทส่วนปลาย ไขสันหลัง และสมอง เช่น ปลายประสาทอักเสบ ซึ่งอาจมีอาการคลุ้มคลั่ง ชักและหมดสติก่อนตาย รวมถึงยังมีผลต่อระบบผิวหนัง ทำให้มีลักษณะผิวหนังหยาบ เป็นจ้ำสีม่วงหรือเข้ม นอกจากนี้ยังมีผลต่อระบบทางเดินอาหาร เริ่มตั้งแต่มีร่องแตกที่บริเวณริมฝีปาก เยื่อบุลิ้นจะฝ่อ ลีบ มีอาการอักเสบของลำไส้เล็กและมีเลือดออก ท้องเดิน ( อ้างอิงที่ 10 )

วิตามินบี 5 ( Pantothenic acid )
มีความเกี่ยวข้องกับปฏิกิริยาชีวเคมีในร่างกายหลายอย่าง เช่น การเผาผลาญคาร์โบไฮเดรต การสร้างกลูโคส การสังเคราะห์กรดไขมัน และเสตียรอยด์ฮอร์โมน
หากขาด อาจจะมีอาการปวดท้อง อาเจียนและเป็นตะคริว กล้ามเนื้ออ่อนตัวลง อ่อนเพลีย นอนไม่หลับ ( อ้างอิงที่ 10 )

วิตามินบี 6 ( Pyridoxine )
เป็น co-enzyme ที่จำเป็นต่อการผลิตสารสื่อประสาทหลายชนิด มีความสำคัญต่อปฏิกิริยาทั้งหมดในเมตาบอลิสมของกรดอะมิโน มีบทบาทในกระบวนการสร้างเม็ดเลือดแดง
หากขาด จะพบอาการโลหิตจาง อ่อนเพลีย เป็นแผลที่มุมปาก ริมฝีปากอักเสบ ชาปลายมือปลายเท้า ผิวหนังเป็นจ้ำ ๆ สีม่วง และมีอาการทางประสาท เช่น มีความคิดสับสน ซึมเศร้า และอาจจะเกิดอาการชักได้ ( อ้างอิงที่ 10 )

วิตามินบี 12 ( Cyanocobalamin )
มีบทบาทในเมตาบอลิสมของคาร์โบไฮเดรต ไขมัน โปรตีน รวมถึงมีบทบาทในการเจริญ การแบ่งตัวของเซลล์ และการสังเคราะห์สารที่หุ้มเส้นประสาท
( myelin ) ด้วย
หากขาด จะมีผลต่อระบบทางเดินอาหารเนื่องจากมีความสำคัญต่อการสร้างเซลล์ผิว โดยเฉพาะเยื่อบุทางเดินอาหาร เช่น ทำให้ลิ้นอักเสบ และมีการเปลี่ยนแปลงของเยื่อบุตลอดทางเดินอาหาร และเนื่องจากมีความสำคัญต่อการสร้างสารที่หุ้มเส้นประสาท ( myelin ) ดังนั้น ผู้ที่ขาดจะทำให้มีอาการทางประสาท เช่น ชาตามมือและเท้า เมื่อเป็นมากขึ้นจะมีอาการสับสน ประสาทหลอนได้ รวมถึงมีความสำคัญต่อการเจริญเติบโตอย่างปกติของเม็ดเลือดแดง หากร่างกายขาดวิตามินชนิดนี้ จะทำให้โลหิตจาง ( อ้างอิงที่ 10 )

เอกสารอ้างอิง
1. The National Academies Press, Dietary Reference Intakes for Thiamin, Riboflavin, Niacin, Vitamin B6, Folate, Vitamin B 12, Pantothenic acid, Biotin and Choline. 12 Choline, pages 390-422.
http://darwin.nap.edu/nap-cgi/skimit.cgi?recid=6015&chap=390-422
2. Verbal and visual memory improve after choline supplementation in long-term total parenteral nutrition : a pilot study. JPEN J Parenter Enteral Nutr. 2001 Jan-Feb;25(1):30-5
3. Cognitive improvement in mild to moderate Alzheimer’s dementia after treatment with the acetylcholine precursor choline alfoscerate: a multicenter, double-blind, randomized, placebo-controlled trial. Clin Ther. 2003 Jan;25(1):178-93
4. Choline-deficiency fatty liver: impaired release of hepatic triglycerides. J Lipid Res. 1968 Jul;9(4):437-46
5. Lecithin increases plasma free choline and decreases hepatic steatosis in long-term total parenteral nutrition patients. Gastroenterology. 1992 Apr;102(4 Pt 1):1363-70
6. Accumulation of 1,2-sn-diradylglycerol with increased membrane-associated protein kinase C may be the mechanism for spontaneous hepatocarcinogenesis in choline-deficient rats. J Biol Chem. 1993 Jan25;268(3):2100-5
7. Inhibition of hepatocarcinogenesis in mice by dietary methyl donors methionine and choline. Nutr Cancer. 1990;14(3-4):175-81
8. Choline, an essential nutrient for humans. FASEB J. 1991 Apr;5(7):2093-8
9. Choline deficiency caused reversible hepatic abnormalities in patients receiving parenteral nutrition: proof of a human choline requirement: a placebo-controlled trial. JPEN J Parenter Enteral Nutr. 2001 Sep-Oct;25(5):260-8
10. เครือข่ายวิชาการผลิตภัณฑ์สุขภาพ เรื่อง วิตามิน วิตามินบี1 วิตามินบี2 วิตามินบี 3 วิตามินบี 5 วิตามินบี6 และวิตามินบี 12. สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา 2547


เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับ ขมิ้นชัน



เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับ ขมิ้นชัน


ขมิ้นชัน เป็นพืชสมุนไพรชนิดหนึ่ง ซึ่งสามารถนำมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์สุขภาพ เนื่องจากมีคุณประโยชน์และงานวิจัยทางด้านการแพทย์กล่าวโดยสรุปได้ดังนี้
1. มีประโยชน์ต่อระบบทางเดินอาหาร โดยช่วยลดท้องอืด ท้องเฟ้อ ช่วยย่อยอาหาร บำรุงตับ ลดการเจ็บป่วยจากโรคลำไส้เรื้อรัง
2. มีประโยชน์ต่อระบบหัวใจ หลอดเลือดหัวใจ และ สมอง โดยช่วยในเรื่องโรคหัวใจและหลอดเลือด ลดการตายของกล้ามเนื้อหัวใจและป้องกันเซลล์สมองตายจากการขาดเลือด
3. มีประโยชน์ในด้านการช่วยยับยั้งเซลล์มะเร็งหลายชนิด ได้แก่ มะเร็งลำไส้ใหญ่ มะเร็งกระเพาะปัสสาวะ มะเร็งต่อมลูกหมาก มะเร็งต่อมน้ำเหลือง มะเร็งเม็ดโลหิตขาว มะเร็งปอด มะเร็งตับ มะเร็งเต้านม มะเร็งรังไข่ และอาจลดมะเร็งปากมดลูกอีกด้วย
4. มีประโยชน์ในด้านช่วยบำรุงสมอง และอาจช่วยเรื่องอัลไซเมอร์
5. ช่วยฆ่าเชื้อมาเลเรีย

ขมิ้นชันมี ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Curcuma longa Linn., Curcuma domestica Valeton. ชื่อวงศ์ Zingiberaceae ชื่อท้องถิ่น ขมิ้นแกง, ขมิ้นชัน, ขมิ้นหยวก, ขมิ้นหัว, ขี้มิ้น, ยากยอ, สะยอ, หมิ้น ส่วนที่ใช้คือ เหง้าสดและแห้ง
ขมิ้นเมื่อใช้ภายนอก มีฤทธิ์ฆ่าเชื้อราและแบคทีเรียได้หลายชนิด แต่บทความนี้จะกล่าวเฉพาะ ประโยชน์ของขมิ้นที่ใช้รับประทานเท่านั้น

ประโยชน์และงานวิจัยทางด้านการแพทย์
ระบบทางเดินอาหาร

ช่วยท้องอืดเฟ้อ ลดแผลในกระเพาะ ช่วยย่อยอาหาร บำรุงตับ ลดการปวดมดลูก ลดการเจ็บป่วยจากโรคลำไส้อักเสบเรื้อรัง
ขมิ้นชันช่วยแก้ท้องอืดเฟ้อด้วยการขับลม ( อ้างอิงที่ 1 ) นอกจากนี้ยังมีฤทธิ์ต้านการเกิดแผลในกระเพาะอาหาร ( อ้างอิงที่ 2, 3 ) และฤทธิ์ป้องกันตับอักเสบจากสารพิษอีกด้วย ( อ้างอิงที่ 4, 5 ) จากผลทั้งหมดดังกล่าว ขมิ้นจึงมีผลช่วยบรรเทาอาการปวดท้องเนื่องจากแผลในกระเพาะได้ และช่วยแก้ท้องอืดเฟ้อและช่วยย่อยอาหาร

ระบบหัวใจและหลอดเลือดหัวใจและสมอง
เคอร์คิวมินในขมิ้น มีความเป็นสารต้านอนุมูลอิสระมากเพียงพอ และมีงานวิจัยในหนูทดลอง ว่าลดการเกิดปริมาณกล้ามเนื้อหัวใจตายจากการขาดเลือดได้จริง โดยการวิจัยได้ทดลองผูกเส้นเลือดหัวใจ ให้กล้ามเนื้อหัวใจตาย กลุ่มที่ได้รับสารเคอร์คิวมิน จะมีปริมาณกล้ามเนื้อหัวใจตายน้อยกว่าอย่างมีนัยสำคัญ ( อ้างอิงที่ 6 )
ในทำนองเดียวกัน เคอร์คิวมินในขมิ้น มีผลในการป้องกัน เซลล์สมองตายจากการขาดเลือด ได้ จากกลไกการต้านอนุมูลอิสระ ไม่ได้เกี่ยวข้องใด ๆ กับการแข็งตัวของเกร็ดดเลือด ( อ้างอิงที่ 7 )

ขมิ้นช่วยยับยั้งเซลล์มะเร็งหลายชนิด
ปัจจุบันนี้ ขมิ้นได้รับการวิจัยมากขึ้น และพบว่า สามารถให้เสริมกับยาต้านมะเร็งได้เป็นอย่างดี เพราะช่วยกัน ทำลายเซลล์มะเร็งโดยกลไกอื่น ๆ อีกเพิ่มเติมนอกเหนือไปจากยาต้านมะเร็ง ( อ้างอิงที่ 8 ) และขมิ้นยังได้รับคำแนะนำว่า น่าจะมีบทบาทในการป้องกันมะเร็งได้มาก เพราะมีกลไกป้องกันมะเร็ง โดยออกฤทธิ์ที่เอนไซม์ ระยะหนึ่งและสอง
( Phase I and II carcinogen-metabolizing enzymes ) ในการทำงานก่อมะเร็งของสารเหนี่ยวนำมะเร็งอีกด้วย ( อ้างอิงที่ 9 )

เคอร์คิวมินในขมิ้น มีฤทธิ์ยับยั้ง และทำลายเซลล์มะเร็งของมนุษย์ได้หลายชนิด เช่น เซลล์มะเร็งตับ เซลล์มะเร็งเม็ดโลหิตขาว T cell Leukemia เซลล์มะเร็งกระเพาะปัสสาวะ Bladder cancer cell เซลล์มะเร็งปอด ชนิด non small cell Carcinoma ทำให้มีการเสนอแนะว่า ขมิ้นชัน น่าจะมีบทบาทในการป้องกันมะเร็งปอดในผู้ที่สูบบุหรี่ เซลล์มะเร็ง ผิวหนัง ( melanoma ) เซลล์มะเร็งต่อมนำเหลือง Non-Hodgkin's lymphoma. เซลล์มะเร็งลำไส้ใหญ่ ( Human colon adenocarcinoma ) เซลล์มะเร็งต่อมลูกหมาก เซลล์มะเร็งรังไข่ เซลล์มะเร็งเต้านม และเนื่องจากขมิ้นยับยั้ง ไวรัสหูด HPV ซึ่งเป็นสาเหตุหลักและปัจจัยเสี่ยงของมะเร็งปากมดลูก ทำให้อาจจะมีที่ใช้ในการป้องกันมะเร็งปากมดลูก ( อ้างอิงที่ 10-20 )

ขมิ้นบำรุงสมอง อาจจะช่วยเรื่องอัลไซเมอร์
ปัจจุบัน มีการค้นพบว่า โรคอัลไซเมอร์ หรือสมองเสื่อม มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างมากในกลุ่มที่อายุน้อยลงเรื่อย ๆ และกลไกของการต้านอนุมูลอิสระ อาจมีบทบาทในการป้องกันการเกิดโรคนี้ได้ ซึ่งตอนนี้ ได้มีงานวิจัย ที่บอกว่า ขมิ้นก็เป็นหนึ่งในสมุนไพรที่น่าจะมีบทบาทในการป้องกันโรคนี้ ( อ้างอิงที่ 21 )

ขมิ้นช่วยฆ่าเชื้อมาเลเรีย
สารสกัด เคอร์คิวมิน ในขมิ้น มีประสิทธิภาพที่ค้นพบทางการแพทย์เพิ่มเติมอีกหลายอย่าง เช่น พบคุณสมบัติในการฆ่าเชื้อมาเลเรีย P Falciparum ทำให้ปัจจุบันมีการพัฒนาเพิ่มเติมที่จะนำมาใช้เป็นยารักษาหรือป้องกันมาเลเรีย (อ้างอิงที่ 22) การทดลองในหนูพบว่า หนูที่ได้รับประทานเคอร์คิวมิน สารสกัดจากขมิ้น สามารถลดปริมาณ เชื้อมาเลเรีย ( P Falciparum ) ได้ 80 - 90% ( อ้างอิงที่ 23 )
โดยสรุป ขมิ้นชันจึงจัดเป็นสมุนไพรที่มีประโยชน์กว้างขวาง ปลอดภัยเพราะเป็นพืชผักสวนครัว และมีงานวิจัยทางการแพทย์รองรับมาก เนื่องจากขมิ้นช่วยขับน้ำดี จึงมีข้อแนะนำไม่รับประทานในผู้ป่วยที่เป็นนิ่วในท่อน้ำดี

ปัจจุบันนี้งานวิจัยของขมิ้นชันยังมีตลอดเวลา โดยมีแนวโน้มที่จะนำสารสกัดมาศึกษาเพิ่มเติม จึงเป็นสมุนไพรไทยที่น่าภูมิใจและน่าใช้สำหรับคนไทย อย่างไรก็ตามการเลือกใช้ผลิตภัณฑ์สุขภาพจากขมิ้นชันควรเลือกจากผู้ผลิตที่ได้รับการรับรองหลักเกณฑ์วิธีการที่ดีในการผลิต ( Good Manufacturing Practice หรือ GMP ) เป็นอย่างน้อย รวมถึงมีการควบคุมคุณภาพของขมิ้นชันให้มั่นใจได้ว่า ผลิตภัณฑ์ขมิ้นชันนั้นมีค่าสารสำคัญคือ เคอร์คิวมิน ตามมาตรฐานกำหนด มีความปลอดภัย

เอกสารอ้างอิง
1. An introduction to phytopharmacy. London: Pithman MedicalPublishing Co. Ltd., 1977, p. 158-176.
2. Effect of indigenous remedies on the healing of woundsand ulcers. JIMA. 1953; 22(7): 273-6.
3. Pharmacological study of Curcuma longa. Symposium of the Department of Medicinal Science, Bangkok Thailand. Dec 3-4, 1990.
4. Antithepatotoxic activity of crude drugs. Yakugaku Zasshi 1985; 105(2): 109-18.
5. Antithepatotoxic principles of Curcuma longa rhizomes. Planta Med 1983; 49: 185-7.
6. Protective effect of curcumin on myocardial ischemia reperfusion injury in rats Zhong Yao Cai. 2005 Oct;28(10):920-2.
7. Neuroprotective mechanisms of curcumin against cerebral ischemia-induced neuronal apoptosis and behavioral deficits. J Neurosci Res. 2005 Oct 1;82(1):138-48.
8. Potential synergism of natural products in the treatment of cancer. Phytother Res. 2006 Apr;20(4):239-49.
9. Chemopreventive properties of curcumin. Future Oncol. 2005 Jun;1(3):405-14.
10. Effects of curcumin on proliferation and apoptosis in human hepatic cells. Zhonghua Gan Zang Bing Za Zhi. 2002 Dec;10(6):449-51.
11. Curcumin (diferuloylmethane) inhibits constitutive active NF-kappaB, leading to suppression of cell growth of human T-cell leukemia virus type I-infected T-cell lines and primary adult T-cell leukemia cells. Int J Cancer. 2006 Feb 1;118(3):765-72
12. The effect of curcumin on bladder cancer cell line EJ in vitro. Zhong Yao Cai. 2004 Nov;27(11):848-50.
13. Preventive role of curcumin in lung cancer Przegl Lek. 2005;62(10):1180-1.
14. Apoptosis induced by curcumin and its effect on c-myc and caspase-3 expressions in human melanoma A375 cell line. Di Yi Jun Yi Da Xue Xue Bao. 2005
15. Anticancer effect of curcumin on human B cell non-Hodgkin's lymphoma. J Huazhong Univ Sci Technolog Med Sci. 2005;25(4):404-7.
16. Curcumin induces human HT-29 colon adenocarcinoma cell apoptosis by activating p53 and regulating apoptosis-related protein expression. Braz J Med Biol Res. 2005 Dec;38(12):1791-8. Epub 2005 Nov 9.
17. Curcumin-induced apoptosis in androgen-dependent prostate cancer cell line LNCaP in vitro. Zhonghua Nan Ke Xue. 2006 Feb;12(2):141-4.
18. Antiproliferation and apoptosis induced by curcumin in human ovarian cancer cells. Cell Biol Int. 2006 Mar;30(3):221-6. Epub 2005 Dec 22.
19. Antiproliferative effect of curcumin (diferuloylmethane) against human breast tumor cell lines.Anticancer Drugs. 1997 Jun;8(5):470-81.
20. Constitutive activation of transcription factor AP-1 in cervical cancer and suppression of human papillomavirus (HPV) transcription and AP-1 activity in HeLa cells by curcumin. Int J Cancer. 2005 Mar 1;113(6):951-60
21. A review of antioxidants and Alzheimer's disease. Ann Clin Psychiatry. 2005 Oct-Dec;17(4):269-86.
22. Curcumin for malaria therapy . Antimicrob Agents Chemother. 2006 May;50(5):1859-60..
23. Curcumin for malaria therapy. Biochem Biophys Res Commun. 2005 Jan 14;326(2):472-4.


เรื่องน่ารู้สำหรับลูทีนซีแซนทีนอาหารบำรุงสายตา

เรื่องน่ารู้สำหรับลูทีนซีแซนทีนอาหารบำรุงสายตา

สาร ลูทีนและซีแซนทีน เหมาะกับผู้ใช้สายตามาก ผู้สูงอายุ ผู้ที่ทำงานอยู่หน้าจอคอมพิวเตอร์ หรืออยู่กับแสงสว่างจ้า กลางแดด ผู้ที่ต้องขับรถกลางคืนบ่อย ๆ ผู้ที่โดนแฟลช ดูทีวีมากและนาน ผู้ป่วยเบาหวาน โรคหัวใจ มะเร็งเต้านม

ประโยชน์ โดยสรุปของสาร ลูทีนและซีแซนทีนที่มีงานวิจัยมีดังนี้คือ

ช่วยลดความเสี่ยงในการเป็นโรคต้อกระจก และโรคจอตาเสื่อม ( AMD ) มะเร็งเต้านมและโรคหลอดเลือดหัวใจ
รายละเอียดดังนี้

ลูทีน (Lutein) และซีแซนทีน (Zeaxanthin) เป็นสารธรรมชาติจัดอยุ่ในกลุ่มของสารรงควัตถุที่มีสีในตระกูลของสาร แคโรทีนอยด์ แต่มีความแตกต่างจากคาโลทีนอยด์ชนิดอื่นตรงที่จะไม่เปลี่ยนไปเป็นวิตามิน เอ ลูทีน และซีแซนทีน มีในเนื้อเยื่อของร่างกายมนุษย์หลายจุดด้วยกัน ส่วนของร่างกายที่มีสาร ลูทีน และซีแซนทีน ได้แก่ในลูกตา คือ ที่เลนส์ตา และจอรับภาพของตา คือเรติน่า ตรงตำแหน่ง จุดรับภาพของลูกตา ( Macula ) ซึ่งเป็นตำแหน่งที่สำคัญที่สุดในจอตาเรติน่าเพราะเป็นจดุที่รูปภาพและแสงส่วนมากจะมาตกบริเวณนี้ เป็นส่วนที่จอตารับภาพได้ชัดที่สุดนั่นเอง ในธรรมชาติแล้วแม้จะมีแคโรทีนอยด์มากกว่า 600 ชนิด แต่มีเพียง 20 ชนิดเท่านั้นที่พบในมนุษย์ และมีเพียง 2 ชนิดเท่านั้นที่พบในจุดรับภาพของลูกตา ( Macula ) คือ ลูทีน ( Lutein ) และ ซีแซนทีน ( Zeaxanthin ) ในจอตาทั้งคู่ทำหน้าที่
: ช่วยกรองหรือป้องกันรังสีจากแสงแดดที่เป็นอันตรายต่อดวงตา
: ช่วยปกป้องเซลล์ของจอประสาทตาไม่ให้ถูกทำลายโดยการลดอนุมูลอิสระและกรองแสงสีน้ำเงินที่จะทำลายดวงตา

นอกจากนี้ ลูทีน และซีแซนทีน ยังพบได้ใน ตับ ตับอ่อน ไต ต่อมหมวกไต และเต้านมแต่ก็เป็นสารที่ร่างกายสังเคราะห์เองไม่ได้ ร่างกายของเราจะได้รับสารนี้ก็ต่อเมื่อรับประทานพืชผักที่มีสารนี้เท่านั้น แต่สารซีแซนทีนนอกจากจะได้จากอาหารส่วนหนึ่งแล้ว ร่างกายสามารถเปลี่ยนสารลูทีนในตาไปเป็นสารซีแซนทินได้ พืชผักที่มีสาร ลูทีน และซีแซนทีน โดยมากมักจะเป็นผัก ผลไม้ ที่มีสีเหลืองและสีเขียวเข้ม เช่น ข้าวโพด ผักกาด ผักปวยเล้ง คะน้า ผักโขม

ลูทีนและซีแซนทีน มีประโยชน์ในโรคหลายชนิดด้วยกัน ที่สำคัญคือ โรคต้อกระจก และโรคโรคจุดรับภาพเสื่อม โรคหัวใจและหลอดเลือด และช่วยลดอุบิตการณ์ในโรคมะเร็ง บางชนิด

โรคต้อกระจก ( Cataracts )
คือภาวะที่กระจกตา หรือเลนส์ตาขุ่นทำให้แสงไม่สามารถผ่านเข้าไปในตาได้ตามปกติ ตาจะมัวมากน้อยขึ้นอยู่กับต้อกระจกขุ่นมากน้อยแค่ไหน ต้อกระจกไม่ใช่โรคติดต่อ แต่อาจเป็นพร้อมกันทั้งสองตา ต้อกระจกจะค่อย ๆ ขุ่นไปอย่างช้า ๆ ใช้เวลาเป็นปี ๆ ต้อกระจกไม่ใช่โรคมะเร็ง ต้อกระจกสามารถรักษาได้ด้วยการผ่าตัด การผ่าตัดลอกต้อกระจกขึ้นอยู่กับความเหมาะสมของแต่ละคนโดยจักษุแพทย์จะเป็นผู้ให้คำแนะนำ และเลือกวิธีการผ่าตัดให้ได้ดีที่สุด

สาเหตุหลัก คือ การเปลี่ยนแปลงของส่วนประกอบของเลนส์ตา ทำให้เลนส์ขุ่น และนิวเคลียสแข็งขึ้น พบการเปลี่ยนแปลงนี้ในผู้สูงอายุ พบบ่อยตั้งแต่อายุ 50 ปีขึ้นไป สาเหตุอื่น เช่น จากกรรมพันธุ์ จากอุบัติเหตุตา จากการติดเชื้อ จากการติดเชื้อในครรภ์มารดา ถ้าพบตั้งแต่เกิดก็เรียกว่า “ต้อกระจกแต่กำเนิด” เช่นในเด็กที่เกิดหลังจากมารดาติดหัดเยอรมันระหว่างตั้งครรภ์ ในคนที่เป็นเบาหวานพบว่าเป็นต้อกระจกเร็วกว่าคนธรรมดาอย่างมาก ตาปกติเลนส์ตาจะใส และปล่อยให้แสงผ่านไปได้ แต่เมื่อเป็นต้อกระจก เลนส์ตาจะขุ่นแสงผ่านเข้าไม่ได้ เมื่อเริ่มเป็นต้อกระจก ผู้ป่วยจะรู้สึกตาข้างนั้นมัวคล้ายมองผ่านหมอก อาจมองเห็นภาพซ้อน ขับรถตอนกลางคืนลำบากขึ้น เมื่อต้อกระจกเป็นมากขึ้น จะสามารถสังเกตเห็นต้อสีขาวที่ม่านตาได้

การตรวจวินิจฉัย เมื่อมีอาการตามัวควรไปรับการตรวจจากจักษุแพทย์ ต้อกระจกจะทำให้สายตามัวไปทีละน้อย เมื่อต้อสุกจะมองเห็นแต่มือไหว ๆ หรือเห็นเพียงแสงไฟเท่านั้น

โรคจุดรับภาพเสื่อม( Age-Related Macula Degenerationหรือ AMD )
เกิดจากการเสื่อมของจุดรับภาพ (Macular) ซึ่งเป็นกลางจอตา (Retina) ทำให้การมองเห็นภาพเบลอ บิดเบี้ยวบางครั้งอาจรุนแรงขนาดเห็นจุดดำมาบังภาพอยู่ตลอดเวลาอาจมีสาเหตุมาจาก
- ปัจจัยทางธรรมชาติที่ไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้เช่น การเสื่อมสภาพของดวงตาเมื่ออายุเพิ่มขึ้น หรือการถ่ายทอดผ่านทางกรรมพันธุ์จากบรรพบุรุษ
- ปัจจัยแวดล้อมต่าง ๆ เช่น
: การเผชิญแสงแดดจ้า ทำให้ดวงตาได้รับรังสี UV โดยตรง
: การมีพฤติกรรมชอบบริโภคอาหารที่มีไขมันและคอเรสเตอรอลสูง เพราะอาหารประเภทนี้อุดมไปด้วยอนุมูลอิสระที่จะไปทำลายเนื้อเยื่อในร่างกายให้เสื่อมสภาพได้ รวมถึงการขาดสารอาหารบางชนิด
: การดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์สูงเนื่องจากเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์จะเป็นตัวเร่งให้เกิดความเสื่อมของเซลล์ในร่างกาย
: การสูบบุหรี่ เพราะควันในบุหรี่มากไปด้วยอนุมูลอิสระที่จะไปทำลายเซลล์ในตา
- ปัจจัยที่เกิดจากอาการเจ็บป่วยของโรคอื่น เช่นโรคหัวใจ โรคความดันโลหิตสูง และโรคเบาหวาน ก็มีส่วนเนื่องจากโลหิดในตาเสื่อมลง จึงส่งผลให้หลอดเลือดฝอยของจอประสาทตารั่วซึมหรือแตกง่าย

ลูทีนและซีแซนทีน กับโรคต้อกระจก
กลไกของการที่ ลูทีน และซีแซนทีน ช่วยลดหรือป้องกัน หรือชะลอการเกิดต้อกระจกได้นั้นเป็นเพราะ เป็นคุณภาพของสารเองที่จะลดกลไกการเกิดความเสื่อม ของโรคต้อกระจกโดยตรง ( อ้างอิงที่ 1) นอกจากนี้ก็ยังพบว่าทั้ง ลูทีน และซีแซนทีน ต่างก็มีคุณสมบัติเป็นสารต้านอนุมูลอิสสระ ซึ่งสามารถลดความเสี่ยงในโรคทึ่เกิดจากการมีสารอนุมูลอิสสระสูงได้ ( อ้างอิงที่ 2,3) มีการค้นพบที่ชัดเจนว่า การได้รับแสงเป็นประจำได้ก่อให้เกิดการสร้างอนุมูลอิสสระใน กระจกตาและจอตาได้จริง มีผลทำให้เกิดออกซิเดชั่นของโปรตีนและไขมันในเลนส์ตา ทำให้ไปในทิศทางของความเสื่อมของเลนส์ตาและก่อให้เกิดต้อกระจกในผู้สูงอายุได้ ( อ้างอิงที่ 4) จึงเป็นเหตุผลที่ชัดเจนว่าทำไมสารลูทีน และซีแซนทีน จึงสามารถลดความเสี่ยงของโรคต้อกระจกและโรคของจอตาคือโรค โรคจุดรับภาพเสื่อม ซึ่งมีกลไกการเกิดโรคจากความเสื่อมและอนุมูลอิสสระได้เช่นกัน ในเรื่องของต้อกระจก ได้มีการวิจัยวัดความขุ่นของเลนส์ตา ระดับของลูทีน และซีแซนทีน ในกระแสเลือด ในกลุ่มผู้สูงอายุต่างๆ พบว่า การมีระดับ ของลูทีน และซีแซนทีน ในกระแสเลือดสูงจะผกผันกับความขุ่นของเลนส์ตาในผู้สูงอายุ เป็นการวิจัยของจักษุแพทย์ และผู้วิจัยสรุปว่า ลูทีน และซีแซนทีน น่าจะลดการเกิดความเสื่อมของเลนส์ตาในผู้สูงอายุได้จริง ( อ้างอิง ที่ 5) ยังมีการวิจัยว่าการรับประทานลูทีน ในปริมาณสูง เพิ่มความสามารถในการมองเห็น ของผู้ป่วยที่เป็นต้อกระจกไปแล้ว การวิจัยนี้ เป็นการวิจัยที่ดีมาก และทำการทดลองเป็นเวลานานถึงสองปีทีเดียว ( อ้างอิง ที่ 6 ) การวิจัยที่ยิ่งใหญ่ถึงคุณประโยชน์ของลูทีน และซีแซนทีน ทำในอเมริกา สองงานวิจัย งานวิจัยแรกทำที่ Harvard School of Public Health, Boston ในผู้ชาย 36,644 คน ที่ได้รับอาหารเสริมและวิตามินต่างๆ พบว่ากลุ่มที่ได้รับอาหารเสริม เป็น ลูทีน และซีแซนทีน จะลดความเสี่ยงของโรคต้อกระจกถึง 19% ( อ้างอิงที่ 7 ) และอีกงานวิจัยทำที่ University of Massachusetts ทำในสุภาพสตรี ถึง 50, 461 คน เป็นการวิจัยทำนองเดียวกัน แต่ทำในผู้หญิงเท่านั้นพบว่า ลูทีน และซีแซนทีน จะลดความเสี่ยงของโรคต้อกระจกถึง 22% ( อ้างอิงที่ 8 )นอกจากนี้ยังมีงานวิจัยที่ทำที่ University of Wisconsin-Madison Medical School ในผู้สูงอายุ 43-84 ปี จำนวน1,354 คน พบว่า ลดอุบัติการณ์ของ ต้อกระจกที่เกิดตรงกลางเลนส์ ( nuclear cataracts ) ได้ประมาณ 50% ซึ่งเป็นตัวเลขที่สูงมาก ( อ้างอิงที่ 9 ) เนื่องจากมีงานวิจัยที่ชัดเจนมากมายถึงขนาดนี้จึงเป็นที่ยอมรับว่า ลูทีน และซีแซนทีนลดอุบัติการณ์โรคต้อกระจกในผู้สูงอายุได้จริง

ลูทีน และซีแซนทีน กับโรคจุดรับจอภาพเสื่อม
นอกจาก ลูทีนและซีแซนทีน จะช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคต้อกระจกแล้ว ยังพบว่ามีประโยชน์ในโรคโรคจุดรับภาพเสื่อม ซึ่งมีหลายๆการศึกษาสนับสนุนข้อมูลดังกล่าว โดยพบว่า ถ้าปริมาณ Lutein & Zeaxanthin ในลูกตาลดน้อยลง จะพบความเสี่ยงมากขึ้นในเป็นโรคโรคจุดรับภาพเสื่อม ( อ้างอิงที่ 10 ) และความเสี่ยงในการเป็นโรคโรคจุดรับภาพเสื่อม จะลดลง หากมีปริมาณ Lลูทีนและซีแซนทีน ในเลือดสูงขึ้น ( อ้างอิงที่ 11,12 ) แสดงให้เห็นว่า การบริโภค อาหารที่มีลูทีนและซีแซนทีน สามารถช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคได้

ลูทีน กับมะเร็งเต้านม
ในการวิจัยของพยาบาล Nurse’s Health Study, Zhang และคณะ . พบว่ามีคนที่บริโภคอาหารที่มี ลูทีนและซีแซนทีน ปริมาณมากอาจลดอุบัติการณ์ของโรคมะเร็งเต้านมในสตรีช่วงหมดประจำเดือน ได้อย่างมีนัยสำคัญ แม้ว่า เปอร์เซนต์การลดอุบัติกาณ์จะไม่มากนัก แต่ก็น่าสนใจอย่างยิ่ง ( อ้างอิงที่ 13) ในทำนองที่สอดคล้องกัน ก็มีผู้วิจัยพบว่า ลูทีน ลดอุบัติการณ์มะเร็งเต้านมได้จริงในสตรีกลุ่มที่มีความเสี่ยงคือมีประวัติครอบครัวเป็นมะเร็งเต้านม (อ้างอิงที่ 14) ที่เป็นเช่นนี้อธิบายได้จากกลไกของตัว ลูทีนเอง เพราะพบว่า สาร ลูทีนมีคุณสมบัติยังยั้งการก่อมะเร็งได้ด้วยกลไกหลายชนิด เช่น มีผลต่อการเกิด mutagens 1-nitro pyrene and aflatoxin B1 ( อ้างอิงที่ 15,16) และมีผลต่อยีนที่มีผลต่อ T-cell transformations (อ้างอิงที่ 17)

ลูทีน ซีแซนทีน กับโรคหลอดเลือดหัวใจ
โรคหลอดเลือดหัวใจ สาเหตุหลักมักเกิดจากการที่เส้นเลือดมีการหนาตัวตีบแคบลง จากการมีตะกอน (ทางการแพทย์เรียกว่า พล๊าค ( Plaque ) ในผนังเส้นเลือด ทำให้เส้นเลือดตีบแคบทั่วไป เพียงแต่บริเวณที่สำคัญที่ต้องการเลือดมากที่สุดตลอดเวลาคืออวัยวะที่ไม่มีการหยุดพัก คือหัวใจ เป็นจุดที่เกิดปัญหาได้ก่อน ทำให้มีการขาดเลือดไปเลี้ยงหัวใจ ผู้ป่วยมักมีอาการเจ็บแน่นหน้าอก อาจมีหัวใจเต้นผิดจังหวะ หรือกล้ามเนื้อหัวใจตายจนหัวใจวาย หรือหัวใจหยุดเต้นและถึงแก่กรรมโดยฉับพลันได้ บางรายอาการทางหัวใจไม่มาก แต่เมื้อหัวใจเต้นผิดจังหวะนานๆ ก็อาจจะทำให้เลือดไปเลี้ยงสมองไม่พอ มีอัมพาตแขนขาอ่อนแรง หรืออัมพาตครึ่งซีก ตามมาได้ สาเหตุที่สำคัญที่ก่อให้เกิดพล๊าคในผนังเส้นเลือดคือภาวะไขมันในเลือดสูงและมีสารอนุมูลอิสสระในผนังเส้นเลือด ก่อให้เกิดการแทรกซึมของไขมันโคเลสเตอรอลลงไปสะสมในผนังเส้นเลือดทำให้เกิดพล๊าคและมีการตีบตันได้ งานวิจัยพบว่า ลูทีน สามารถลดกลไกการเกิดพล๊าคดังกล่าวได้ ( อ้างอิงที่ 18 ) พบว่าในผู้ที่บริโภคอาหารที่มีลูทีนสูงจะลดอัตราการเป็นโรคหัวใจขาดเลือด และโรคหลอดเลือดตีบในสมองอย่างมีนัยสำคัญ ( อ้างอิงที่ 19,20)

กล่าวโดยสรุป ลูทีนและซีแซนทีน จึงเป็นสารอาหารธรรมชาติที่มีคุณประโยชน์เป็นที่เชื่อถือได้ ในหลายโรคด้วยกัน มีความปลอดภัย และเป็นทางเลือกหนึ่งสำหรับผู้บริโภค

เอกสารอ้างอิง

1. The Body of Evidence to Support a Protective Role for Lutein and Zeaxanthin in Delaying Chronic Disease. Overview The American Society for Nutritional Sciences J. Nutr. 132:518S-524S, 200
2. Antioxidant and prooxidant properties of carotenoids. Arch. Biochem. Biophys. 385:20-27
3. Biochim. Biophys. Acta 1991;1068:68-72
4. Ocular photosensitization. Photochem. Photobiol. 1986;46:1051-1055
5. Lens aging in relation to nutritional determinants and possible risk factors for age-related cataract. Arch Ophthalmol. 2002 Dec;120(12):1732-7.
6. Lutein, but not alpha-tocopherol, supplementation improves visual function in patients with age-related cataracts: a 2-y double-blind, placebo-controlled pilot study. Nutrition. 2003 Jan;19(1):21-4
7. A prospective study of carotenoid intake and risk of cataract extraction in U.S. men. Am. J. Clin. Nutr. 1999; 70:517-524.
8. A prospective study of carotenoid and vitamin A intake and risk of cataract extraction among U.S. women. Am. J. Clin. Nutr. 1999;70:509-516.
9. Antioxidant intake and risk of incident age-related nuclear cataracts in the Beaver Dam Eye Study. Am J Epidemiol. 1999 May 1;149(9):801-9.
10. The macular pigment: a possible role in protection from age-related macular degeneration. Adv Pharmacol 38:537-56
11. Antioxidant status and neovascular age-related macular degeneration. Arch Opthamol 111:104-9
12. Dietary carotenoids, vitamin A, C, E, and advanced age related macular degeneration. JAMA 1994;272(18):1413-20
13. Dietary carotenoids and Vitamins A, C, E and risk of breast cancer. J. Natl. Cancer Inst. 1999;91:547-556.
14. Serum carotenoids and breast cancer. Am. J. Epidemiol. 2001; 153:1142-1147.
15. Antimutagenicty of xanthophylls present in Aztec marigold (Tagetes erecta) against 1-nitropyrene. Mutat. Res. 1997; 389:219-226.
16. Antimutagenic activity of natural xanthophylls against aflatoxin B1 in Salmonella typhimurium. Environ. Mol. Mutagen. 1997; 30:346-353
17. Dietary lutein but not astaxanthin or beta-carotene increases pim-1 gene expression in murine lyphocytes. Nutr. Cancer. 1999; 33:206-21
18. The effect of carotenoids on the expression of cell surface adhesion molecules and binding of monocytes to human aortic endothelial cells. Atherosclerrosis 2000; 150:265-274.
19.Fruit and vegetable intake in relation to risk of ischemic stroke. J. Am. Med. Assoc. 1999; 282:1233-1239
20. Carotene, carotenoids and the prevention of coronary heart disease. J. Nutr. 1999; 129:5-8.


ชาเขียวมีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่าCamellia Sinensis



ชาเขียวมีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่าCamellia Sinensis


มีสายพันธุ์มากกว่า 1200 สายพันธุ์ มีชื่อเรียกที่แตกต่างกันมากมาย ขึ้นอยู่กับแหล่งที่ปลูก เป็นทั้งไม่พุ่มและไม้ยืนต้น ที่มีอายุตั้งแต่ 60-300 ปี ไม้พุ่มทั่วไป จะมีการตัดแต่งให้เก็บยอดได้ง่าย มักจะสูงไม่เกิน 1.50 เมตร ที่เป็นไม้ยืนต้นที่มีอายุมากที่สุด พบที่ยูนนานของจีน มีอายุ มากกว่า 300 ปี มีความสูง 15-20 เมตร
ชาเขียวเป็นที่ยอมรับแล้วว่ามีกำเนิดจากประเทศจีน ในอดีตมีการค้าขายเดินเรือไปทั่วโลกทำให้ชาเขียวแพร่ไป ยุโรป อินเดีย บราซิล และที่อื่นๆ ชาเขียว ต้นเดียวกัน สามารถทำเป็นชาที่นิยมกันได้ ถึงสามชนิดคือ

- ชาเขียว ( Green tea )
- ชาอูหลง ( Oolong Tea )
- ชาดำ ( Black Tea )


ชาทั้งสามชนิดมาจากชาเขียวต้นเดียวกัน แต่ผ่านกรรมวิธีที่ต่างกัน เมื่อเก็บเกี่ยวใบชาออกมาจากต้นแล้ว คือ ชาเขียว เป็นชาที่ไม่ผ่านการหมัก เมื่อเก็บเกี่ยวแล้ว มีการอบความร้อน เพื่อไล่ความชื้น หรืออบไอน้ำ การอบความร้อนหรือไอน้ำจะยับยั้งเอนไซม์ที่ทำให้ชาถูกหมัก เมื่ออบแล้วจะนำมาคั่วแห้งและเก็บไว้ชงชา ชาอูหลงเป็นชากึ่งหมัก (Semi fermented) คือเมื่อเก็บเกี่ยวแล้ว ผึ่งความร้อนเพียงเล็กน้อย จะมีการนวดชาด้วยมือให้ช้ำ และเกิดเอนไซม์ เป็นการหมักเล็กน้อย ระยะหนึ่งจึงนำไปคั่ว ชาดำ จะถูกทิ้งให้ผ่านการหมักเต็มที่จนใบชากลายเป็นสีเข้ม ชาทั้งสามชนิด จะมีรสชาติที่ต่างกันออกไป แต่ชาเขียวจะมีคุณค่ามากที่สุดเพราะสารต้านอนุมูลอิสระไม่ถูกทำลายจากาการหมัก
ยังมีชาอื่น ๆ อีก เช่น ชาขาว ซึ่งก็เป็นชาเขียว แต่เด็ดแต่ยอดชาในเวลาไม่เกิน 48 ชั่วโมง ใบชาจะมีขนอ่อนและเป็นสีขาว จะมีคาเฟอีนน้อยที่สุด
ชาเขียว ให้ประโยชน์แก่ร่างกายมากมายหลายประการ โดยมี สารสำคัญที่ทำให้เกิดประโยชน์ ( Active health component ) เรียกว่า โพลีฟีนอล ( Polyphenols ) หรือเรียกกันทั่วไปว่า คาเทชิน ( Catechins ) ซึ่ง Catechins นี้จะมีปริมาณ 30-40 % ของส่วนที่เป็นของแข็งที่สามารถสกัดได้จากใบชาเขียวแห้ง ( อ้างอิงที่ 1 )
คาเทชินที่อยู่ในชาเขียว ประกอบไปด้วย Epigallocatechin-3-gallate (EGCG), Epicatechin-3-gallate, Epicatechin, Epigallocatechin, Gallocatechin gallate and Catechin ในทั้งหมดนี้ สารที่มีมากที่สุดก็คือ Epigallocatechin-3-gallate หรือ อี จี ซี จี ( EGCG ) ขนาดใบชาเขียวแห้ง 1 ซอง ( 1.5 กรัม ต่อซอง ) จะให้ EGCG ประมาณ 35 - 110 mg ( อ้างอิงที่ 2 ) EGCG นับได้ว่าเป็นสารต้านอนุมูลอิสระจากธรรมชาติ ที่มีประสิทธิภาพสูงที่สุดในชาเขียวและมีปริมาณมากที่สุด ( อ้างอิงที่ 3 ) มีความแรงของการต้านอนุมูลอิสระ มากกว่า วิตามิน C และวิตามิน E 25-100 เท่า การรับประทานชา ประมาณ 1 แก้วต่อวัน จะให้สารต้านอนุมูลอิสระ มากกว่าการรับประทาน แครอท บรอคเคอรี่ ผักโขม และสตรอเบอรี่ ในขนาดที่รับประทานในแต่ละมื้อ ( อ้างอิงที่ 29 ) และมีหลายงานวิจัยระบุว่ามีประโยชน์ต่อร่างกาย ดังนี้

1. ช่วยลดความอ้วน
ด้วยกลไกของการกระตุ้นปฏิกิริยาออกซิเดชั่นของไขมัน ( Stimulates fat oxidation ) มีรายงานวิจัยที่มีข้อมูลสนับสนุนว่า EGCG ช่วยเพิ่มกระบวนการ การเผาผลาญพลังงานของเนื้อเยื่อไขมัน และมีรายงานการทดลองในคนแล้วว่า ช่วยลดความอ้วนได้ ( อ้างอิงที่ 4-7 )

2. ช่วยลดไขมันในเลือด
แม้จะลดไขมันในเลือดได้ไม่มากนัก แต่ก็มีงานวิจัยที่ดีรองรับสองงานวิจัย ในงานวิจัยแรก พบว่า เมื่อรับประทานอาหารที่มีไขมันสูงการดื่มชาในปริมาณปานกลางหรือปริมาณมาก ร่วมด้วยจะลดปริมาณ ไขมันในเลือดชนิด ไตรกลีเซอไรด์ลงได้อย่างมีนัยสำคัญใน ช่วง 6 ชั่วโมงหลังทานอาหารและดื่มชา โดยลดการเพิ่มระดับของไขมันชนิด ไตรกลีเซอรไรด์ในเลือดได้ถึง 15.1-28.7% ( อ้างอิงที่ ,8 ) อีกงานวิจัยพบว่า ผู้ที่ดื่มชาประมาณ สองถ้วยต่อวัน สามารถลดไขมันในเลือดชนิดโคเลสเตอรอลลงได้เล็กน้อย (119 เป็น 106 มก/ดล.) แต่ก็มีนัยสำคัญทางคลินิก ( อ้างอิงที่ 9 )

3. ช่วยโรคเส้นเลือดอุดตัน
มีรายงานวิจัยว่า สารสำคัญในชาเขียว สามารถลดการหดเกร็งของเลือดฝอย ลดการเกิดตะกอน ( Plaque ) ในเส้นเลือดฝอย ทำให้ลดอุบัติการ ของโรค กล้ามเนื้อหัวใจตายจากการขาดเลือด ( Myocardial infarction ) และอัมพฤกษ์ อัมพาตจากเส้นเลือดตีบตัน ( Storke ) ( อ้างอิงที่10-14 ) นอกจากนี้ EGCG ยังเป็นตัวยับยั้งการเกิด การสันดาปOxidation ของโคเลสเตอรอล ทำให้ลดการเกิด การสะสมสร้าง ตะกอน ( Plaque ) ในเส้นเลือด จาก โคเลสเตอรอล ทำให้ลดการเกิด เส้นเลือดแข็งตัวตีบตัน ( atherosclerosis ) และลดอุบัติการณ์ของโรคเส้นเลือดหัวใจตีบ (Cronary atherosclerosis ) ( อ้างอิงที่ 15-17) ในงานวิจัยในสัตว์ทดลองยังลดการเกิดเส้นเลือดในปอดตีบตัน (Pulmoary Thrombosis) อีกด้วย (อ้างอิงที่ 13,18 ) ส่งให้เป็นผลดีต่อสุขภาพของหลอดเลือดหัวใจ

4. ต่อต้านอนุมูลอิสระ และ ต่อต้านมะเร็ง ( Antioxidant and Anticancer ) ( อ้างอิงที่ 19 )
ชาเขียวมีผลต่อการยับยั้งการเกิดมะเร็งได้หลายชนิดทั้งในคนและสัตว์ เพราะมีฤทธิ์ทางด้านการต้านอนุมูลอิสสระอย่างมาก การวิจัยทางระบาดวิทยาพบว่า ในกลุ่มผู้ที่ดื่มชาเขียวเป็นประจำจะมีอุบัติการณ์ของมะเร็งต่อมลูกหมาก กระเพาะอาหาร และมะเร็งผิวหนังลดลง ทั้งนี้เพราะสารสกัด ประเภทโพลีฟีนอลในชาเขียวมีผลยับยั้งมะเร็งจำนวนมากด้วยกลไกที่หลากหลาย โดยเฉพาะสารสำคัญตัวหนึ่งในชาเขียวคือ epigallocatechin-3-gallate (EGCG) เป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่มีคุณภาพสูงในชาเขียว ยังมีผลยับยั้งเซลล์มะเร็งต่อมลูกหมากของคนอย่างชัดเจน ปัจจุบันเป็นที่ยอมรับว่าการรับประทานชาเขียว มีผลยับยั้งการก่อมะเร็งได้หลายชนิด ที่มีงานวิจัยในสัตว์ทดลองพบว่าสามารถยับยั้งมะเร็งของ ผิวหนัง มะเร็งปอด มะเร็งช่องปาก มะเร็งหลอดอาหาร มะเร็งกระเพาะอาหาร มะเร็งตับ มะเร็งต่อมลูกหมาก (อ้างอิงที่ 20-24) สำหรับมะเร็งในคนที่มีงานวิจัยดีที่สุดคือ มะเร็งต่อมลูกหมาก มะเร็งผิวหนัง ตามมาด้วยมะเร็งเต้านม โดยพบว่า สาร EGCG สามารถลด การเติบโต เซลล์มะเร็งเต้านมในคนได้ และยับยั้งมะเร็งเต้านมของหนูได้ การวิจัยนี้ บอกถึงศักยภาพในอนาคตที่จะนำมารักษาผู้ป่วยมะเร็งเต้านม ( อ้างอิงที่ 25) และงานวิจัยล่าสุด ได้มีงานวิจัยโดยใช้สารสกัดชาเขียวในผู้ป่วยมะเร็งปอดเป็นครั้งแรก ซึ่งยังเป็นการทดลองเบื้องต้น พบว่าได้ผลเล็กน้อยเท่านั้น อย่างไรก็ตามมะเร็งปอดเป็นมะเร็งที่ดื้อต่อยาต้านมะเร็งมากที่สุดชนิดหนึ่งอยู่แล้ว แต่ก็บอกศักยภาพในการต้านมะเร็งของสารสกัดชาเขียวได้เป็นอย่างดี ( อ้างอิงที่ 26 )

5. ช่วยยับยั้งการเจริญเติบโตของแบคทีเรียได้หลายสายพันธ์ที่เป็นสาเหตุของโรคฟันผุ ทำให้ช่วยปกป้องโรคฟันผุได้ ( อ้างอิงที่ 27-28)
เมื่อบริโภคชาเขียวทั่วไป จะพบว่าในชาเขียว ยังมีสาร คาเฟอีน ซึ่งมีฤทธิ์กระตุ้นประสาท ทำให้ไม่ง่วงนอน จึงเป็นที่แนะนำว่า ไม่ควรรับประทาน ชา/กาแฟ ก่อนนอน เพราะจะทำให้นอนไม่หลับ และ ไม่ควรบริโภคในเด็ก แต่ในสารสกัดจากชาเขียว อีจีซีจี จะมีคุณประโยชน์เท่ากับชาเขียวคุณภาพดี 1 แก้ว แต่ จะมีสารคาเฟอีนในปริมาณที่น้อยมากๆ คือในปริมาณ เพียง 0.05 ม.ก. ซึ่งน้อยกว่าชาเขียวที่ชงดื่มทั่วไป ถึงประมาณ 900 เท่า ทำให้ไม่มีผลต่อการกระตุ้นประสาท หรือนอนไม่หลับ แต่อย่างใด

เอกสารอ้างอิง :
1. The Growth Factor, Vol No. 3 / 03 - Mita (P) No 214 / 04 / 2002 ; A Publication of Roche Vitamins Asia Pacific Pte Ltd.
2. Catechins in Green Tea, TEAVIGO TM Roche Vitamins Ltd, data on file
3. Antioxidant chemistry of green tea catechins., The University of Arizona, USA., Chem Res Toxicol.1999 Apr;12(4):382-6
4. TEAVIGO and modulation of obesity, EGCG attenuates body fat accumulation , TEAVIGO TM Roche Vitamins Ltd, data on file
5. Efficacy of a green tea extract rich in catechin polyphenols and caffeine in increasing 24-h energy expenditure and fat oxidation in humans, University of Geneva., Am J Clin Nutr. 1999 Dec;70(6):1040-5.
6. Green tea and thermogenesis: interactions between catechin-polyphenols, caffeine and sympathetic activity, University of Fribourg, Switzerland, Int J Obes Relat Metab Disord. 2000 Feb;24(2):252-8.
7. Anti-obesity effect of tea catechins in humans, J Oleo Sci 2001;50:599-605
8. Effect of tea catechins on postprandial plasma lipid responses in human subjects. Br J Nutr. 2005 Apr;93(4):543-7.
9. Effectiveness of moderate green tea consumption on antioxidative status and plasma lipid profile in humans. J Nutr Biochem. 2005 Mar;16(3):144-9
10. Tea flavonoids and cardiovascular diseases : a review. Crit Rev Food Sci Nutr 1997;37:771-785
11. Inhibitory effects of purified green tea epicatechins on contraction and proliferation of arterial smooth muscle cells, Acta Pharmacol Sin 2000;21(9):835-840
12. Tea catechins prevent the development of artherosclerosis in apoprotein E-deficient mice, J Nutr 2001;131:27-32
13. Antithrombotic activities of green tea catechins and ( - ) - Epigallocatechins Gallate, Thromb Res 1999;96:229-237
14. Possible contribution of green tea drinking habits to the prevention of stroke, Tohuku J Exp Med 1989;157:337-343
15. TEAVIGO and cardiovascular health, A potent antioxidant and antiatherogenic agent , TEAVIGO TM Roche Vitamins Ltd, data on file
16. Tea catechins inhibit cholesterol oxidation accompanying oxidation of low density lipoprotein invitro, Comp Biochem Physiol Part C 2001;128:153 164
17. Relationship between green tea consumption and the severity of coronary atherosclerosis among Japanese men and women, Ann Epidemiol 2000;10:401-408
18. TEAVIGO and cardiovascular health, A potent antithrombotic agent , TEAVIGO TM Roche Vitamins Ltd, data on file
19. Antioxidant effects of tea: evidence from human clinical trials. J Nutr 2003 Oct;133(10):3285S-3292S .
20. Molecular targets for green tea in prostate cancer prevention. J Nutr 2003 Jul;133(7 Suppl):2417S-2424S.
21. Inhibition of carcinogenesis by tea. Annu Rev Pharmacol Toxicol 2002;42:25-54
22. Green tea polyphenols and cancer chemoprevention: multiple mechanisms and endpoints for phase II trials. Nutr Rev. 2004 May;62(5):204-11
23. Mechanisms of cancer prevention by tea constituents. J Nutr. 2003 Oct;133(10):3262S-3267S
24. Anti-cariogenic properties of tea ( Camellia sinesis ), J Med Microbiol 2001;50:299-302
25. Catechins and the treatment of breast cancer: possible utility and mechanistic targets. IDrugs. 2003 Nov;6(11):1073-8.
26. Phase I study of green tea extract in patients with advanced lung cancer. Cancer Chemother Pharmacol. 2005 Jan;55(1):33-8. Epub 2004 Aug 7.
27. TEAVIGO and oral health, A natural antimicrobial agent , TEAVIGO TM Roche Vitamins Ltd,
28. Makimura M. et al., Inhibitory effect of tea catechins on collagenase activity, J Periodontol 1993;64:630-36

อาหารเสริมที่มีฤทธิ์ ต้านอนุมูลอิสสระที่แรงที่สุด ได้ชื่อว่าเป็น Super antioxidant



อาหารเสริมที่มีฤทธิ์ ต้านอนุมูลอิสสระที่แรงที่สุด ได้ชื่อว่าเป็น Super antioxidant


สารสกัดจากเมล็ดองุ่น เป็นสารประเภท ไบโอฟลาโวนอยด์ มีสารที่สำคัญหลายตัว เป็น กลุ่มของโปรแอนโทรไซยานิดิน ( Proanthocyanidin หรือมีอีกชื่อว่า พีซีโอ ( PCO: Procyanidolic Oligomers ) มีประสิทธิภาพต้านอนุมูลอิสระแรงที่สุด จนได้ชื่อว่า ซุปเปอร์แอนตี้ออกซิแดน สาร พีซีโอตัวนี้มีมากที่สุดในเมล็ดองุ่น และใน เบอร์เบอรี่ เชอรี่ พลัม ถั่วและผักบางชนิด ประวัติการค้นพบสารสกัดจากเมล็ดองุ่น มาจาก การค้นพบทางการแพทย์ที่พบว่าคนที่ดื่มไวน์แดงเป็นประจำจะมีโอกาสเป็นโรคหัวใจ และมีอัตราตายจากโรคหัวใจ น้อยกว่าผู้อื่น ในครั้งแรกคิดว่าเป็นผลจากแอลกอฮอล์ ต่อมาจึงพบว่าส่วนใหญ่เป็นผลจากสารสกัดในเมล็ดองุ่น . ( อ้างอิงที่ 1 )

ประโยชน์
1. ลดการสะสมของโคเลสเตอรอลต่อผนังเส้นเลือด ทำให้เส้นเลือด ไม่ตีบตัน ลดการอุดตันของเส้นเลือด ( อ้างอิงที่ 2,4)
2. มีผลต่อกล้ามเนื้อหัวใจ โดยทำให้กล้ามเนื้อหัวใจแข็งแรง และทนทานต่อภาวะการขาดเลือด และลดการเต้นผิดจังหวะ มีผลทำให้ลดอัตราตายจากโรคหัวใจ ( อ้างอิงที่ 3 )
3. มีผลยับยั้งเซลล์มะเร็งหลายชนิด เช่น ปอด กระเพาะอาหาร มะเร็งต่อมลูกหมาก และมะเร็งเต้านมในคน ( อ้างอิงที่4- 6 )
4. สามารถป้องกันเซลล์มะเร็งในช่องปาก จมูก หลอดอาหารในกลุ่มประชากรที่เคี้ยวใบชา ซึ่ง เสี่ยงต่อการเป็นโรคมะเร็งชนิดนี้ ( อ้างอิงที่ 7)

การทานผักและผลไม้ที่มี เบต้าคาโรทีน วิตามิน ซี วิตามิน อี สูงสามารถที่จะลดอุบัติการการเป็นมะเร็งเต้านม และมะเร็งปอด และยังลด อุบัติการของโรคหัวใจขาดเลือด ทั้งหมดนี้มีงานวิจัยสนับสนุนในประชากรนับหมื่นคน ( อ้างอิงที่ 8-10 12-13,16 )

กล่าวโดยสรุปแล้วสารต้านอนุมูลอิสระ มีผลดีต่อร่างกาย เป็นสารธรรมชาติที่ช่วยชะลอการแก่ และลดมะเร็งต่าง ๆ และลดอุบัติการโรคหัวใจขาดเลือดได้จริง มีมากในผักและผลไม้หลายชนิด ซึ่งอาจจะหารับประทานได้ไม่ยาก

เอกสารอ้างอิง
1. Grape seed proanthocyanidins improved cardiac recovery during reperfusion after ischemia in isolated rat hearts. Am J Clin Nutr 2002 May;75(5):894-9 2002;75(5):894-9.
2. Proanthocyanidin-rich extract from grape seeds attenuates the development of aortic atherosclerosis in cholesterol-fed rabbits. Atherosclerosis 1999;142(1):139-49.
3. Grape seed proanthocyanidins improved cardiac recovery during reperfusion after ischemia in isolated rat hearts. Am J Clin Nutr 2002 May;75(5):894-9 2002;75(5):894-9.
4. Free radicals and grape seed proanthocyanidin extract: importance in human health and disease prevention. Toxicology 2000 Aug 7;148(2-3):187-97 2002;148(2-3):187-97.
5. Anticarcinogenic effect of a polyphenolic fraction isolated from grape seeds in human prostate carcinoma DU145 cells: modulation of mitogenic signaling and cell-cycle regulators and induction of G1 arrest and apoptosis. Mol Carcinog 2000 Jul;28(3):129-38 2002;28(3):129-38.
6. A polyphenolic fraction from grape seeds causes irreversible growth inhibition of breast carcinoma MDA-MB468 cells by inhibiting mitogen-activated protein kinases activation and inducing G1 arrest and differentiation. Clin Cancer Res 2000 Jul;6(7):2921-30 2002;6(7):2921-30.
7. Protective effects of antioxidants against smokeless tobacco-induced oxidative stress and modulation of Bcl-2 and p53 genes in human oral keratinocytes. Free Radic Res 2001 Aug;35(2):181-94 2002;35(2):181-94.
8. Intake of vitamins E, C, and A and risk of lung cancer. The NHANES I epidemiologic follow-up study. First National Health and Nutrition Examination Survey. Am J Epidemiol 1997;146(3):231-43.
9. Dietary carotenoids and vitamins A, C, and E and risk of breast cancer. J Natl Cancer Inst 1999;91(6):547-56.
10. Dietary antioxidants and risk of myocardial infarction in the elderly: the Rotterdam Study. Am J Clin Nutr 1999;69(2):261-6.

แคลเซี่ยมเสริมสุขภาพ เพื่อเสริมสร้างความแข็งแรงให้กับกระดูกและฟัน



แคลเซี่ยมเสริมสุขภาพ เพื่อเสริมสร้างความแข็งแรงให้กับกระดูกและฟัน อีกทั้งป้องกันการเกิดโรคกระดูกพรุน


วิตามินและแร่ธาตุมีคุณประโยชน์ ดังนี้
1. วิตามิน ดี3 เสริมประสิทธิภาพในการดูดซึมแคลเซี่ยมให้ดีขึ้น
2. แมกนีเซียม เป็นส่วนประกอบสำคัญสำหรับการเผาผลาญอาหาร ระบบประสาทและกล้ามเนื้อ เป็นส่วนประกอบของกระดูกและฟัน ป้องกันการเป็นตะคริว
3. วิตามินซี เสริมสร้างผนังหลอดเลือด ช่วยในการดูดซึมแร่ธาตุ เสริมสร้างเซลล์ให้แข็งแรง
4. สังกะสี เป็นส่วนจำเป็นสำหรับการเจริญเติบโตของระบบสืบพันธุ์ เสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกันให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น
5. ทองแดง ช่วยในการหายใจของเซลล์ เป็นส่วนสำคัญของการสร้างเนื้อเยื่อ และมีส่วนสำคัญต่อการเจริญเติบโตของกระดูก
6. วิตามิน อี เป็นสารต้านอนุมูลอิสระ ป้องกันไม่ให้เซลล์เสื่อมสภาพ ช่วยลดการเกิดโรคหลายชนิดที่เกิดจากเซลล์ถูกทำลาย
หน้าที่สำคัญของแคลเซี่ยม
1. เสริมสร้างกระดูกให้แข็งแรง ป้องกันความผิดปกติของกระดูก เช่น กระดูกหักง่าย หลังโก่งงอ กระดูกเรียงผิดรูป หรือฟันโยกหลุดง่าย
2. ป้องกันการเกิดโรคกระดูกพรุน
3. ป้องกันการปวดเกร็งในช่องท้องในผู้หญิงระหว่างมีประจำเดือน
4. ลดอาการกระตุกของกล้ามเนื้อ และอาการชาตามปลายมือ ปลายเท้า
5. ช่วยให้การเจริญเติบโตในด้านความยาว และความแข็งแรงของเด็กในวัยเจริญเติบโต
คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับแคลเซี่ยม
1. แคลเซี่ยม จำเป็นต่อการเติบโตของกระดูก และเรื่องของความสูงหรือไม่ ?
คำตอบคือ จำเป็นครับเพราะแคลเซี่ยมและฟอสฟอรัสคือ แร่ธาตุหลักของกระดูก " เมื่อมีการขาดแคลเซี่ยมในระยะเติบโต ทำให้แคลเซี่ยมจากกระดูกถูกดึงออกมาใช้ภายนอกเซลล์ เพื่อช่วยในการปรับสภาพอิเลคโตรไลต์ของร่างกายให้สมดุลย์ ปริมาณแคลเซี่ยมในกระดูกจึงยิ่งลดลง มีผลทำให้การเติบโตด้านความสูงของเด็กหยุดชะงักได้ "

2. ความสูงขึ้นอยู่กับแคลเซียมเท่านั้นหรือ ?
คำตอบคือ ไม่ใช่ครับแคลเซี่ยมจำเป็นต่อกระดูกเหมือนแสงแดดจำเป็นต่อต้นไม้ แต่ต้นไม้ไม่ได้ต้องการแสงแดด เพียงอย่างเดียวครับ ต้นไม้ต้องการ ปุ๋ย ดิน น้ำ ด้วย ปัจจัยที่ช่วยให้สูงได้ไม่ใช่แคลเซียมอย่างเดียว มีหลายอย่างที่สำคัญ มีดังนี้
2.1 อายุ
- เด็กสาว จะหยุดสูงเมื่ออายุกระดูก 16 ปีโดยประมาณ หลังจากมีประจำเดือนแล้ว 3 ปี (โดยปกติเด็กสาวจะมีเต้านมก่อน จากนั้นอีกประมาณ 2 ปีจึงจะมีประจำเดือน) ในกรณีที่เด็กสาวมีประจำเดือนเร็ว อาจสูงได้อีก 5-7 ซ.ม. และหยุดสูง หลังจากมีประจำเดือนแล้วประมาณ 3 ปี
- เด็กชาย มักจะหยุดสูงเมื่ออายุกระดูก 18 ปี คือประมาณ 3 ปี หลังจากเสียงแตก
- อย่างไรก็ตาม เมื่อเด็กสาวมีอายุ 16 ปี และเด็กชายมีอายุ 18 ปี อาจจะสูงเพิ่มได้อีกประมาณ 1-2 ซ.ม (Spinal Column Growth) แล้วจะหยุดสูงโดยสิ้นเชิง
2.2 พันธุกรรม ยีนจากพ่อแม่ปู่ย่าตายาย จะมีผลต่อพันธุกรรมความสูงของเด็กความผิดปกติทางโครโมโซมก็มีผลที่ทำให้เด็กตัวเตี้ยได้
2.3 โภชนาการ การได้รับอาหารที่เหมาะสมทั้งพลังงาน โปรตีน ไขมัน คาร์โบไฮเดรต เกลือแร่ และที่สำคัญเป็นหลักของกระดูกคือ แคลเซี่ยมและฟอสฟอรัสที่เพียงพอ
2.4 การพักผ่อนที่เพียงพอ และการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
2.5 เด็กที่ได้รับการเลี้ยงดูด้วยความรัก ความอบอุ่นจะเจริญเติบโตได้ดี

3. แคลเซี่ยม ช่วยเร่งให้ร่างกายสูงเร็วจริงหรือ ?
คำตอบคือ ไม่ใช่ครับแต่การขาดแคลเซี่ยมที่ผลทำให้ความสูงหยุดชะงักดังกล่าว ควรได้รับแคลเซี่ยมที่เพียงพอ เมื่อประกอบกับปัจจัย อื่นๆ ก็จะช่วยให้ร่างกายสูงเต็มที่มากที่สุด ตามธรรมชาติที่ควรจะเป็นครับ

4. เราต้องการแคลเซี่ยมเท่าใด ?
คำตอบคือ ตามมาตรฐานคนไทยกระทรวงสาธารณสุขได้วางข้อกำหนดไว้ ดังนี้

วัย ปริมาณแคลเซียมต่อวัน (มก.)
เด็กเล็ก 1 -6 ปี 800
เด็กวัยรุ่น 1200
สตรีหมดประจำเดือน 1200
สตรีมีครรภ์ให้นมบุตร 1200
ผู้ใหญ่ 800

5. จะหาแคลเซี่ยมรับประทานได้จากที่ไหน?
คำตอบคือ อาหารที่มีมาก อาหารที่มีแคลเซี่ยมมาก ๆ มีดังนี้ครับ

ประเภทอาหาร ปริมาณแคลเซียม (มก.) ประเภทอาหาร ปริมาณแคลเซียม (มก.)
ปลาร้าผง 2329 ถั่วเหลือง 245
น้ำปู 2167 เต้าเจี้ยวขาว 180
ใบมะกรูด 1672 ถั่วลันเตา 171
กะปิ 1565 มะกอกไทย 161
งาดำ 1450 เต้าหู้เหลือง 160
กุ้งฝอย 1339 มะเขือพวง 158
ถั่วแดงหลวง 965 ไข่เป็ด 156
นมผง 909 ใบขี้เหล็ก 156
เนยแข็ง 630 ไข่นกกระทา 153
ใบชะพลู 601 ใบบัวบก 146
เห็ดลม 541 มะขามหวาน 141
ยอดแค 387 ยอดกระถิน 137
พริกชี้ฟ้า 361 ไข่ไก่ 126
พริกขี้หนู 360 ใบตำลึง 126
ยอดสะเดา 357 ถั่วเขียว 125
ใบโหระพา 336 นมวัว 100 ซีซี 118
เมล็ดบัง 335 ถั่วดำ 108
เต้าหู้อ่อน 250 ผักกาดเขียว 108
ผักคะน้า 245





ตัวอย่างอาหารที่มีแคลเซี่ยมสูง (ในส่วนที่กินได้ 100 กรัม) และทานได้ง่ายที่สุดคือ นมสด อาหารจากธรรมชาติที่มีแคลเซี่ยมมาก ทานง่าย ได้แก่ นม เนย กุ้งแห้ง กะปิ ปลาร้า งาดำ ถั่วแดงหลวง ใบมะกรูด เราสามารถจะประมาณปริมาณแคลเซี่ยมที่ทานได้จากหลากหลายแห่ง ที่สำคัญคือต้องทานทุกวัน วันละมาก ๆ พอ

6. คนไทยได้แคลเซี่ยมจากอาหารที่รับประทานอยู่เพียงพอหรือยัง ?
ในส่วนตัวคิดว่า ไม่เพียงพอ เพราะมีการศึกษาวิจัยดังนี้ กองวิเคราะห์อาหาร กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุขได้ศึกษาวิเคราะห์แร่ธาตุจากอาหารทุกภาคในประเทศไทย โดยเก็บตัวอย่างอาหารที่ทานเป็นประจำของภาค
นั้น ๆ ผลวิเคราะห์เป็นแร่ธาตุต่าง ๆ ที่ได้รับในแต่ละวัน ผลการวิเคราะห์แคลเซี่ยมมีดังนี้ครับ

แคลเซี่ยมในอาหารที่คนไทยในแต่ละภาคได้รับ (มก. / วัน)
ภาคเหนือ 251.8 ภาคอีสาน 194.8 ภาคกลาง 156 ภาคใต้ 173 เฉลี่ย 195.6
จะเห็นว่าเป็นค่าที่น้อยมาก เมื่อเทียบกับความต้องการของ คนไทย คือ 800 มก./วัน

ยังมีการวิจัยในคนกรุงเทพ ฯ โดยสุ่มในประชากร 396 คน พบว่า แม้ในคนกรุงเทพ ณ ซึ่งนับว่ามีโภชนาการที่ดีพอสมควร ก็ยังได้รับแคลเซี่ยมเฉลี่ยเพียง 361 มก./วัน โดยมีถึง 67 % ได้รับแคลเซี่ยมน้อยกว่า 400 มก./วัน 31% ได้
แคลเซี่ยม 400-800 มก./วัน มีเพียง 2 % ที่ได้แคลเซียมเกิน 800 มก./วัน

แคลเซี่ยมที่ดูดซึมได้ดี เรียกว่ามีค่า Bioavalabilty สูงที่สุดได้แก่ แคลเซี่ยมคาร์บอเนตซึ่งดูดซึมได้ 40 % สิ่งที่จะช่วยเพิ่มการดูดซึมแคลเซี่ยมได้แก่ วิตามินดี 3 ซึ่เราอาจจะได้รับจากอาหารและแสงแดด ภาวะเป็นกรดในกระเพาะอาหาร น้ำตาลแลคโตสและกรดแอมมิโนในนม

สารที่ลดการดูดซึมแคลเซี่ยม ได้แก่ แอลกอฮอล์ กาแฟ ยาขับปัสสาวะ ยาพวกเตรตร้าไซคลิน ยอลดกรดในอาหาร นอกจากนี้กรดออกซาลิก และกรดไฟติคในพืชผัก สามารถจับแคลเซี่ยม และ ลดการดูดซึมได้ กรดไฟติคจะอยู่ในรูปของเกลือไฟเตท ซึ่งสามารถจะจับกับแร่ธาตุได้ ที่มีการศึกษา อาหารที่มีไฟเตทมากดังกล่าว ได้แก่ ข้าวกล้อง ข้าวเหนียวดำ ลูกเดือย เมล็ดแตงโมแห้ง งาดำ งาขาว ถั่วเหลือง เมล็ดมะม่วงหิมพานต์ ถั่วดำ ถั่วแดง ถั่วเขียว

7. ถ้าได้รับแคลเซียมไม่พอ จะเกิดอะไรขึ้น ?
ในเด็กที่ต้องการแต่ได้รับไม่พอ ก็มีผลทำให้ไม่สูงความสูงหยุดชะงักได้ ส่วนผู้ใหญ่ก็จะมีโอกาสเป็นโรคกระดูกพรุน เนื่องจากแหล่งที่มีแคลเซียมที่ดีทีสุดคือนม และผู้ใหญ่บ้านเราไม่มีนิสัยกินนมเหมือนฝรั่ง จึงมีปัญหาทางกระดูกกันมาก ส่วนมากจะพบว่าคนแก่จะหลังโกง กระดูกหักง่าย ยุบง่ายเพราะเป็นโรคกระดูกพรุนนั่นเอง

8. โรคกระดูกพรุน คืออะไร ?
โรคกระดูกพรุน (Osteoporosis ) มีลักษณะดังนี้

อาการโรค

เป็นมากในหญิงวัยกลางคน วัยหมดประจำเดือน (Menopause) และวัยสูงอายุ กระดูกจะบางลงและเปราะ กระดูกหักง่ายแม้ว่า ได้รับอุบัติเหตุเพียงเล็กน้อย เช่น สะโพก ข้อมือ กระดูกสันหลัง หรือมีอาการปวดบริเวณสะโพก ปวดหลัง ตัวเตี้ยลง หลังโค้งงอ เนื่องจากกระดูกสันหลังอ่อนแอ กระดูกยุบตัวเข้าหากัน หญิงวัยสาว ก็มีโอกาสเกิดโรคนี้ได้เหมือนกัน

สาเหตุ

ร่างกายสูญเสียแคลเซี่ยมจากกระดูก มากกว่าที่ได้รับเข้าไปสะสม ในกระดูก คือ เกิดการสูญเสียมวลกระดูกมากกว่าที่จะสร้างใหม่ ทำให้กระดูกมีความหนาแน่นน้อยลง สาเหตุเกิดจากเสียความสมดุล ในการทำงานของเซลล์กระดูก 2 ชนิด คือ Osteoclast ซึ่งทำหน้าที่ สลายกระดูก ปลดปล่อยแคลเซี่ยมจากกระดูกเข้าสู่กระแสโลหิต และเซลล์ Osteoblast ซึ่งทำหน้าที่สร้างกระดูกและนำแคลเซี่ยมเข้ามา สะสมในกระดูก กล่าวคือเป็นในช่วงที่ร่างกายหยุดสร้างฮอร์โมนเพศหญิง
เอสโตรเจน เพราะปกติเอสโตรเจนจะช่วยชะลอการสูญเสีย มวลกระดูก

อาหารที่ควรบริโภค
1. อาหารที่มีแคลเซียมสูง ได้แก่ นม ผลิตภัณฑ์นม
2. อาหารที่มีวิตามิน ดี สูง ได้แก่ ปลาที่มีไขมันมาก ไข่ โดยเฉพาะไข่แดง และควรให้ร่างกายได้รับแสงแดดอ่อนๆ ในช่วงเวลาเช้าและเย็น

อาหารที่ไม่ควรบริโภค
1. อาหารที่มีสารไฟเทตสูง ซึ่งขัดขวางการดูดซึม แคลเซียม ได้แก่ รำข้าว ข้าวกล้อง ถั่วเปลือก แข็ง เป็นต้น
2. อาหารที่มีสารออกซาเลต ซึ่งทำให้ร่างกายดูดซึมแคลเซียมจากอาหารน้อยลง ได้แก่ ผักปวยเล้ง ผักกระโดน ผักติ้ว ผักแพว
3. เครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ ซึ่งจะเร่งการขับแคลเซียมออกมาทางปัสสาวะ
4. เครื่องดื่มที่มีสารกาเฟอีน ซึ่งมีฤทธิ์ขับแคลเซียมออกจากกระแสโลหิต
5. การบริโภคเกลือมากเกินไป จะทำให้ร่างกาย สูญเสียแคลเซียมมากขึ้นได้
นอกจากนี้การสูบบุหรี่ จะเพิ่มการสูญเสียแคลเซียมออกมาทางปัสสาวะ และการกินยาเพรดนิโซโลน Prednisolone และ ยา Cortico-steroid อื่น ๆ เป็นเวลานาน ๆ จะมีผลข้างเคียงทำให้ร่างกายสูญเสียมวลกระดูกได้

9. รับประทานแคลเซี่ยมมาก ๆ นาน ๆ จะอันตรายหรือไม่ ?
ไม่อันตรายเลย ถ้าไม่เกินความต้องการประจำวัน (RDI) เช่น ไม่เกิน 800 มก./วัน ในผู้ใหญ่ และเด็กอายุเกิน 1 ปี หรือไม่เกิน 1200 มก./วัน ในผู้หญิงตั้งครรภ์ให้นมบุตร หรือสตรีวัยหมดประจำเดือน ไม่มีอันตรายครับ ไม่มีรายงานว่าจะเป็นนิ่ว หรือกระดูกงอก หรืออันตรายอื่นๆใดเลย ยกเว้นผู้เป็นโรคไตวายเท่านั้นต้องระวัง เพราะคนเป็นโรคไตวาย มักจะต้องจำกัดอาหารฟอสฟอรัส อาหารที่มีแคลเซี่ยมสูงจำนวนมากจะมีฟอสฟอรัสสูงด้วย เช่น นม ซึ่งคนเป็นโรคไตวายควรหลีกเลี่ยงครับ

การได้รับแคลเซี่ยมในปริมาณน้อยกว่า 2000 มก. ถือว่าปลอดภัย สำหรับวัยรุ่นและผู้ใหญ่ทั่วไป ถ้าในปริมาณที่มากกว่า 2000 มก./วัน ถือว่าไม่ปลอดภัย และอาจเป็นอันตรายได้ ถ้าได้รับเช่นนี้ต่อเนื่องหลายๆวัน ติดๆกัน โดยจะทำให้ท้องผูกและอาจทำให้เป็นนิ่วในไตหรือในระบบปัสสาวะได้

สรุปแล้ว แคลเซี่ยม ที่พอเพียงมีความจำเป็นต่อการเจริญเติบโตของร่างกาย บำรุงกระดูก การขาดแคลนมีผลทำให้ความสูงหยุดชะงักได้ องค์ประกอบที่จะสูงไม่ได้มาจากแคลเซี่ยมแต่เพียงอย่างเดียว อาหารที่มีแคลเซี่ยมสูงหลากหลายให้เลือก และนมเป็นอาหารที่ท่านง่ายที่สุด ในกรณีที่ทานนมไม่ได้ ก็อาจทานอาหารชนิดอื่นหรืออาหารสุขภาพที่ปลอดภัย ซึ่งเสริมแคลเซี่ยมในบ้านเราก็มีหลายชนิดโดยทานปริมาณที่เหมาะสม ไม่มากจนเกินไป ก็จะเป็นการใส่ใจดูแลทางโภชนาการที่สมบูรณ์ครับ


โสมเป็นพืชสมุนไพรที่มีคนรู้จักมากที่สุดในโลก



โสมเป็นพืชสมุนไพรที่มีคนรู้จักมากที่สุดในโลก


โสมถือเป็นราชาแห่งสมุนไพรทีเดียว และถูกนำมาใช้เป็นเวลานานกว่า 2000 ปี แล้ว โสมมีอยู่ด้วยกัน สามสายพันธ์ คือ โสมเอเชีย เช่น จีน เกาหลี (Panax ginseng, C.A. Meyer) โสมอเมริกัน และแคนาดา (Panax quinquefolium ) และโสมไซบีเรีย ( Eleutherococcus senticosus ) แต่อย่างหลังสุด ไม่ใช่โสมที่แท้จริงตามสายพันธ์ของโสม แต่ผู้เชี่ยวชาญเชื่อว่ามีระบบการทำงานคล้ายโสม โสมเอเชีย มีถิ่นกำเนิดในตอนเหนือของจีน เกาหลีและประเทศสหรัฐอเมริกา ในตำรายาแผนโบราณของจีน ระบุว่า โสมเป็นสมุนไพรที่ช่วยเสริมความแข็งแรงให้แก่ระบบย่อยอาหาร และปอด ช่วยทำให้จิตใจสงบและเพิ่มพละกำลังโดยส่วนรวม

สำหรับสรรพคุณทางวิชาการทางการแพทย์ที่น่าสนใจ รวมถึงความปลอดภัย มีดังนี้

1. ช่วยบำรุงหัวใจ โสมมีสรรพคุณในการช่วยบำรุงหัวใจโดยออกฤทธิคล้ายกับยาหัวใจ ( digoxin ) ( อ้างอิงที่ 1 )
2. ป้องกันโรคหัวใจขาดเลือด มีงานวิจัยในผู้ป่วยผ่าตัดหัวใจ ( Cardiac surgery ) มีการลองให้โสมและวัดทั้งการบีบตัว ดูผลของการขาดอ๊อกซิเจนด้วย ( อ้างอิงที่ 2 )
3. เสริมประสิทธิภาพทางเพศในชาย มีงานวิจัยในผู้ป่วยที่มีปัญหาองคชาติไม่แข็งตัว ( Erectile dysfunction ) 45 รายโดยรับประทานโสมเกาหลี ปริมาณ 900 ม.ก. 3 ครั้งต่อวันเป็นเวลาสองเดือน พบว่าสามารถเพิ่มประสิทธิภาพ ได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ในการประเมินอย่างละเอียดทุกด้าน โสมจึงช่วยเสริมสมรรถภาพทางเพศในผู้ชาย ( อ้างอิงที่ 3,4 )
4. ลดและป้องกันมะเร็ง มีงานวิจัยของเกาหลีพบว่า การรับประทานโสมเกาหลี เป็นเวลานานสามารถลดอุบัติการณ์ของมะเร็งตับลงได้ด้วยการทำงานในด้านการต้าน อัลฟาทอกซินบี และยูรีเทน ซึ่งเป็นสาเหตุหนึ่งที่พบได้บ่อยพอควรในมะเร็งตับ แต่ก็ยังไม่สามารถลดมะเร็งตับจากการดื่มสุราหรือสาเหตุอื่นได้ ในการวิจัยย้อนหลัง ( Case control study ) ซึ่งเป็นการวิจัยที่เหมาะสมในการหาความเสี่ยงและสารป้องกันการเกิดมะเร็งในคน พบว่า ในคนที่ทานโสม มีอุบัติการณ์หรือโอกาสเป็นมะเร็งลดลงอย่างมาก มะเร็งที่ลดลงเมื่อทานโสมได้แก่ มะเร็งริมฝีปาก ช่องปากและคอ มะเร็งกล่องเสียง มะเร็งปอด มะเร็งหลอดอาหาร มะเร็งกระเพาะอาหาร มะเร็งตับ มะเร็งตับอ่อน มะเร็งรังไข่ และมะเร็งลำไส้ใหญ่ และมีนักวิทยาศาสตร์ชาวไต้หวันคือ ดร. Chang YS ก็ตีพิมพ์งานวิจัย แนะนำว่า ถึงเวลาแล้วที่โสมจะเป็นหนึ่งในทีมยารักษามะเร็งได้แล้ว ( อ้างอิงที่ 5 )
5. โสมมีสรรพคุณช่วยในเรื่องโรคปอดเรื้อรังชนิดที่พบบ่อยที่สุด คือโรคถุงลมโป่งพอง ( COPD ) โรคนี้พบได้บ่อยมาก เพราะเป็นผลงานของการสูบบุหรี่ติดต่อกันมาเป็นระยะเวลานาน งานวิจัยของโสมแบบการทดลองที่มีกลุ่มควบคุมชัดเจนได้ทำให้ผู้ป่วยโรคถุงลมโป่งพอง 92 คนแบ่งเป็นกลุ่มวิจัยที่ได้สารสกัด โสม วันละ 200 มก 49 คน และกลุ่มควบคุม ได้รับยาหลอก อีก 43 คน เป็นเวลา 3 เดือน พบว่ากลุ่มที่ได้รับโสม มีสมรรถภาพทางปอดดีขึ้นอย่างมากในทุกด้าน โดยที่ไม่มีผลข้างเคียง แต่กลุ่มที่ได้รับยาปลอมไม่มีผลดีขึ้นแต่อย่างใด ดังนั้นถ้าจะทานโสมในผู้ที่เป็นโรคนี้ก็น่าจะเกิดประโยชน์ เพราะมีงานวิจัยนี้สนับสนุนแล้ว ( อ้างอิงที่ 6 )
6. โสมมีความปลอดภัยสูง สามารถรับประทานต่อเนื่องได้เป็นระยะเวลายาวนาน ผลข้างเคียงมีน้อยมาก ที่พบได้มีแค่ อาการปวดศีรษะ และทางเดินอาหาร และรบกวนการนอนหลับเท่านั้น ยาที่ไม่ควรทานร่วมกับโสมก็มีเพียง สามสี่ตัว คือ ยาต้านการแข็งตัวของเลือดอย่างแรงชื่อ warfarin ยากระตุ้นหัวใจชื่อ digoxin ยาแก้เศร้าชื่อ Phenelzine และสุรา ( อ้างอิงที่ 7 ) อาจมีการรบกวนประจำเดือน อาการเจ็บหน้าอกขณะมีประจำเดือน และก็มีรายงานถึงคนที่แพ้ได้อย่างรุนแรงได้โดยมีอาการทางผิวหนัง แต่ทั้งหมดนี้เกิดได้น้อยมาก ( อ้างอิงที่ 8 )

อย่างไรก็ตามมีข้อแนะนำว่าหากต้องการให้ปลอดภัยที่สุด ไม่ควรทานโสมกับยาแอสไพริน รวมถึงไม่ควรทานอย่างยิ่งในสตรีตั้งครรภ์และเด็ก ไม่ควรทานในคนที่ตับอักเสบคือมีเอนไซม์ของตับสูงแล้ว ( ไวรัสตับอักเสบบีที่เป็นพาหะ ยังไม่มีเอนไซม์สูงจะทานได้ ) หรือตับอักเสบจนตัวเหลืองตาเหลืองหรือตับโต ดังนั้นถ้าเรามีโรคประจำตัวควรถามหมอของเราก่อนว่าจะทานได้ไหม และเนื่องจากโสมเป็นของร้อนบางคนทานแล้วก็หงุดหงิด ถ้าอยากจะทานให้อายุวัฒนะจริงๆก็ให้ทานร่วมกับใบบัวบก ซึ่งเป็นของเย็น จะดีที่สุด ซึ่งคนอายุยืนมาก ๆ ก็ทานโสมกับใบบัวบกเป็นประจำ

เอกสารอ้างอิง :

1. Effects of red ginseng on the congestive heart failure and its mechanism . Zhongguo Zhong Xi Yi Jie He Za Zhi 1995;15(6):325-7.
2. Protective effects of ginsenoside on myocardiac ischemic and reperfusion injuries. Zhonghua Yi Xue Za Zhi 1994;74(10):626-8, 648
3. Clinical efficacy of Korean red ginseng for erectile dysfunction. Int J Impot Res 1995;7(3):181-6.
4. A double-blind crossover study evaluating the efficacy of Korean red ginseng in patients with erectile dysfunction: a preliminary report J Urol. 2002 Nov;168(5):2070-3.
5. Experimental and epidemiological evidence on non-organ specific cancer preventive effect of Korean ginseng and identification of active compounds Mutat Res. 2003 Feb-Mar;523-524:63-74
6. Ginseng improves pulmonary functions and exercise capacity in patients with COPD. Monaldi Arch Chest Dis. 2002 Oct-Dec;57(5-6):242-6.
7. Panax ginseng: a systematic review of adverse effects and drug interactions. Drug Saf 2002;25(5):323-44
8. The safety of herbal medicines in the psychiatric practice. Harefuah 2001 Aug;140(8):780-3, 805


อาหารเสริมที่มีฤทธิ์ ต้านอนุมูลอิสสระที่แรงที่สุด ได้ชื่อว่าเป็น Super antioxidant

อาหารเสริมที่มีฤทธิ์ ต้านอนุมูลอิสสระที่แรงที่สุด ได้ชื่อว่าเป็น Super antioxidant
19-09-2007 Views: 855 สารสกัดจากเมล็ดองุ่น เป็นสารประเภท ไบโอฟลาโวนอยด์ มีสารที่สำคัญหลายตัว เป็น กลุ่มของโปรแอนโทรไซยานิดิน ( Proanthocyanidin หรือมีอีกชื่อว่า พีซีโอ ( PCO: Procyanidolic Oligomers ) มีประสิทธิภาพต้านอนุมูลอิสระแรงที่สุด จนได้ชื่อว่า ซุปเปอร์แอนตี้ออกซิแดน สาร พีซีโอตัวนี้มีมากที่สุดในเมล็ดองุ่น และใน เบอร์เบอรี่ เชอรี่ พลัม ถั่วและผักบางชนิด ประวัติการค้นพบสารสกัดจากเมล็ดองุ่น มาจาก การค้นพบทางการแพทย์ที่พบว่าคนที่ดื่มไวน์แดงเป็นประจำจะมีโอกาสเป็นโรคหัวใจ และมีอัตราตายจากโรคหัวใจ น้อยกว่าผู้อื่น ในครั้งแรกคิดว่าเป็นผลจากแอลกอฮอล์ ต่อมาจึงพบว่าส่วนใหญ่เป็นผลจากสารสกัดในเมล็ดองุ่น . ( อ้างอิงที่ 1 )

ประโยชน์
1. ลดการสะสมของโคเลสเตอรอลต่อผนังเส้นเลือด ทำให้เส้นเลือด ไม่ตีบตัน ลดการอุดตันของเส้นเลือด ( อ้างอิงที่ 2,4)
2. มีผลต่อกล้ามเนื้อหัวใจ โดยทำให้กล้ามเนื้อหัวใจแข็งแรง และทนทานต่อภาวะการขาดเลือด และลดการเต้นผิดจังหวะ มีผลทำให้ลดอัตราตายจากโรคหัวใจ ( อ้างอิงที่ 3 )
3. มีผลยับยั้งเซลล์มะเร็งหลายชนิด เช่น ปอด กระเพาะอาหาร มะเร็งต่อมลูกหมาก และมะเร็งเต้านมในคน ( อ้างอิงที่4- 6 )
4. สามารถป้องกันเซลล์มะเร็งในช่องปาก จมูก หลอดอาหารในกลุ่มประชากรที่เคี้ยวใบชา ซึ่ง เสี่ยงต่อการเป็นโรคมะเร็งชนิดนี้ ( อ้างอิงที่ 7)

การทานผักและผลไม้ที่มี เบต้าคาโรทีน วิตามิน ซี วิตามิน อี สูงสามารถที่จะลดอุบัติการการเป็นมะเร็งเต้านม และมะเร็งปอด และยังลด อุบัติการของโรคหัวใจขาดเลือด ทั้งหมดนี้มีงานวิจัยสนับสนุนในประชากรนับหมื่นคน ( อ้างอิงที่ 8-10 12-13,16 )

กล่าวโดยสรุปแล้วสารต้านอนุมูลอิสระ มีผลดีต่อร่างกาย เป็นสารธรรมชาติที่ช่วยชะลอการแก่ และลดมะเร็งต่าง ๆ และลดอุบัติการโรคหัวใจขาดเลือดได้จริง มีมากในผักและผลไม้หลายชนิด ซึ่งอาจจะหารับประทานได้ไม่ยาก

เอกสารอ้างอิง
1. Grape seed proanthocyanidins improved cardiac recovery during reperfusion after ischemia in isolated rat hearts. Am J Clin Nutr 2002 May;75(5):894-9 2002;75(5):894-9.
2. Proanthocyanidin-rich extract from grape seeds attenuates the development of aortic atherosclerosis in cholesterol-fed rabbits. Atherosclerosis 1999;142(1):139-49.
3. Grape seed proanthocyanidins improved cardiac recovery during reperfusion after ischemia in isolated rat hearts. Am J Clin Nutr 2002 May;75(5):894-9 2002;75(5):894-9.
4. Free radicals and grape seed proanthocyanidin extract: importance in human health and disease prevention. Toxicology 2000 Aug 7;148(2-3):187-97 2002;148(2-3):187-97.
5. Anticarcinogenic effect of a polyphenolic fraction isolated from grape seeds in human prostate carcinoma DU145 cells: modulation of mitogenic signaling and cell-cycle regulators and induction of G1 arrest and apoptosis. Mol Carcinog 2000 Jul;28(3):129-38 2002;28(3):129-38.
6. A polyphenolic fraction from grape seeds causes irreversible growth inhibition of breast carcinoma MDA-MB468 cells by inhibiting mitogen-activated protein kinases activation and inducing G1 arrest and differentiation. Clin Cancer Res 2000 Jul;6(7):2921-30 2002;6(7):2921-30.
7. Protective effects of antioxidants against smokeless tobacco-induced oxidative stress and modulation of Bcl-2 and p53 genes in human oral keratinocytes. Free Radic Res 2001 Aug;35(2):181-94 2002;35(2):181-94.
8. Intake of vitamins E, C, and A and risk of lung cancer. The NHANES I epidemiologic follow-up study. First National Health and Nutrition Examination Survey. Am J Epidemiol 1997;146(3):231-43.
9. Dietary carotenoids and vitamins A, C, and E and risk of breast cancer. J Natl Cancer Inst 1999;91(6):547-56.
10. Dietary antioxidants and risk of myocardial infarction in the elderly: the Rotterdam Study. Am J Clin Nutr 1999;69(2):261-6.

สาหร่ายสไปรูลิน่าเป็นสาหร่ายรูปเกลียวที่มีขนาดเล็กมาก



สาหร่ายสไปรูลิน่าเป็นสาหร่ายรูปเกลียวที่มีขนาดเล็กมาก


นับเป็นอาหารเสริมสุขภาพที่มีสารอาหารหลากหลายมากที่สุดตัวหนึ่งของโลก สาหร่ายสไปรูไลน่าเป็นแหล่งของโปรตีนสมบูรณ์แบบที่เพียบพร้อมไปด้วยกรดอะมิโนชนิดที่จำเป็นต่อร่างกายครบทั้ง 8 ชนิด (กรดอะมิโนเอสเซนเซียล, ไอโซลิวซีน, ลิวซีน,
เมไธโอนีน, เฟนนิลอะลานีน, ทรีโอนีน, วาลีน) และอื่นๆ อีก 10 ชนิด โปรตีนสมบูรณ์เหล่านี้อยู่ในรูปที่ย่อยง่าย ดูดซึมเข้าสู่ร่างกายได้รวดเร็ว สาหร่ายสไปรูไลน่ายังมีกรดไขมันที่จำเป็นและเป็นแหล่งของธาตุเหล็ก และโฟลิค แอซิด (Folic Acid) ชั้นดี ซึ่งมีความสำคัญต่อการสร้างเม็ดเลือดแดง สาหร่ายสไปรูไลน่ายังอุดมไปด้วยแร่ธาตุที่ช่วยชะลอความเสื่อมชราของร่างกายและลดโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็ง ได้แก่ เบต้าแคโรทีน, วิตามิน อี, สังกะสีและซีลิเนียม ซึ่งยังช่วยลดระดับไขมันในเลือดอีกด้วย สาหร่ายสไปรูไลน่าเป็นสารอาหารจากพืช เป็นอาหารที่ดีเยี่ยมสำหรับผู้ทานเจและมังสวิรัติ เพราะมีโปรตีนสูงและมีวิตามินที่ช่วยป้องกันโรคโลหิตจาง (ซึ่งอาจจะพบได้ในผู้ที่รับประทานอาหารเจและมังสวิรัติ)
คุณค่าทางโภชนาการเมื่อเทียบกับอาหารอื่น
- มีโปรตีนสูงกว่าเนื้อวัว 3-4 เท่า มากกว่าไข่ 4 ถึง 5 เท่า
- มีกรดอะมิโนทั้ง 8 ชนิด ที่ร่างกายไม่สามารถสร้างขึ้นเองได้ครบถ้วน
- มีเบต้าแคโรทีน ซึ่งเป็นแหล่งของวิตามิน เอ ที่มีมากกว่าแครอทถึง 20-25 เท่า
- มีวิตามินและเกลือแร่อยู่ในปริมาณที่เหมาะสม เมื่อเทียบต่อน้ำหนักกับอาหารชนิดอื่น
- มีวิตามิน บี1 มากว่าผัก ผลไม้ และสัตว์บางชนิดเกือบ 1100 เท่า
- มีวิตามิน บี2 มากกว่าอาหารอื่นๆ 5-20 เท่า
- มีวิตามิน บี12 ซึ่งช่วยเสริมสร้างความจำ และช่วยป้องกันโรคโลหิตจาง คนส่วนมากบริโภควิตามิน บี12 จากตับสัตว์เท่านั้น แต่ในสาหร่ายสไปรูไลน่ามีวิตามิน บี12 มากกว่าที่จะพบในตับของวัวถึง 2.5 เท่า ดังนั้น นอกเหนือจากเป็นอาหารสมองที่ดีแล้ว ยังเป็นอาหารที่ดีเยี่ยมสำหรับผู้บริโภคอาหารเจและมังสวิรัติ
- มีกรดแกมมา-ไลโนเลนิก (Gamma Linolenic Acid) ซึ่งเป็นกรดไขมันที่สำคัญในการช่วยลดคลอเรส
เตอรอลในร่างกาย ช่วยป้องกันโรคหัวใจ
สาหร่ายสไปรูไลน่ามีผลต่อร่างกายของเราอย่างไร
1. ต้านเชื้อไวรัสหลายชนิด (Antiviral) และลดการก่อมะเร็ง (Antimutagenic)
2. ช่วยกระตุ้นและเสริมสร้างภูมิคุ้มกัน
3. ลดไขมันในเลือดได้ทั้งคลอเลสเตอรอล
ไตรกลีเซอไรด์ อย่างมีนัยสำคัญ
4. มีสารเบต้าแคโรทีน ไฟโคไชยานิน และคลอโรฟิลซึ่งเป็นสารต่อต้านมะเร็ง มีงานวิจัยว่าสามารถลดการเกิดมะเร็งในช่องปาก ในประชากรกลุ่มที่มีความเสี่ยงที่จะเกิดมะเร็งชนิดนี้
5. มีกรดอะมิโนเมไธโอนิน ช่วยบำรุงตับและสามารถลดความเป็นอันตรายต่อตับเมื่อได้รับสารพิษ
6. มีความปลอดภัยสูง ได้มีการวิจัยความเป็นพิษและผลต่อการตั้งครรภ์ในสัตว์ทดลองและพบว่าปลอดภัย

เรื่องน่ารู้ของ กวาวเครือขาว สมุนไพรสำหรับสตรีวัยทอง



เรื่องน่ารู้ของ กวาวเครือขาว สมุนไพรสำหรับสตรีวัยทอง


กวาวเครือขาว ( Pueraria mirifica ) เป็นสมุนไพรที่กล่าวได้ว่า เป็นราชินีสมุนไพรไทยโดยแท้ มีชื่อเสียงมานานนับร้อยปี สรรพคุณโดยรวมจะเน้นไปใน การทำให้ผู้สูงอายุ โดยเฉพาะสตรีวัยทอง กลับสดชื่น กลับมาเป็นสาว นอกจากนี้ กวาวเครือยังสนับสนุนความเป็นผู้หญิง ไปในทำนองให้สวยงามขึ้น และบำรุงอวัยวะภายใน ไปในทางที่ ส่งเสริมวัยเจริญพันธ์

สรรพคุณกวาวเครือ ในตำราแพทย์แผนโบราณ
ตำราแผนโบราณได้กล่าวไว้ดังนี้ " คนอ่อนเพลีย ผอมแห้ง แรงน้อย นอนไม่หลับ กินไม่ได้ กินยานี้ 20-30 วัน โรคอ่อนเพลียหายสิ้น นอนหลับสบาย เดินไปมาได้ตามปกติ กวาวเครือบำรุงโลหิต บำรุงสมอง บำรุงกำลัง หญิงอายุ 70-80 ปี กินแล้วอ้วนท้วนสมบูรณ์ กลับมีระดูอย่างสาว นมมีไตแข็งขึ้นอีก ชายกินแล้วนมแตกพานแข็งเหมือนเด็กหนุ่ม มีกล้าม เนื้อหนังเต่งตึง ท่านห้ามเด็กหนุ่มสาวกิน ตำผงกินกับน้ำนมวัว หัวคิดสมองปลอดโปร่ง ทรงจำตำราโหราศาสตร์ได้ถึง 3 คัมภีร์ เนื้อหนังจะนิ่มนวลดุจเด็ก 6 ขวบ อายุจะยืนถึง 3,000 กว่าปี โรคาพยาธิจะไม่มาเบียดเบียนเลย รับประทานกับน้ำข้าวที่เช็ดไว้ให้เปรี้ยว จะมีเนื้อหนังนิ่มนวลดุจเทพธิดา รับประทานกับน้ำมันเนยหรือน้ำผึ้ง จะอายุยืน ท่องโหราศาสตร์ได้ 3 คัมภีร์ จะรับรองมาตุคามได้ถึงพันคน ( น่าจะเป็นกวาวเครือแดง ) รับประทานกับนมเปรี้ยว อายุยืน ผมไม่ขาว ฟันไม่หลุด เนื้อหนังไม่ย่น รับประทานกับตรีผลา (มะขามป้อม สมอไทย สมอพิเภก) จักษุที่มัวหรือมีฝ้า แลไม่เห็นก็จะเห็น แช่นมควายทาผม ผมจะงอกดี ผมขาวจะดำ ทาผมด้วยน้ำมันงา ผมจะไม่ขาว เนื้อหนังจะไม่ย่น โรคาพยาธิทุกจำพวกจะไม่มีเลย แช่น้ำนมทา คนที่เสียจักษุโดยมีฝ้าปิด 6 เดือน จะกลับเห็นดีตามเดิม ( อ้างอิงที่ 1 )

สารสำคัญในกวาวเครือ
สารสำคัญ ที่พบในกวาวเครือขาวมีมากมาย ที่เด่น ๆ ได้แก่ miroestrol, daidzein, genistin, puerarin, สารต่าง ๆ เหล่านี้หลายชนิดมีคุณสมบัติเป็น ไฟโตเอสโตรเจน (Phytoestrogen) คือเป็นเอสโตรเจนที่ได้จากพืช และออกฤทธิ์เช่นเดียวกับเอสโตรเจนทุกประการ โดยออกฤทธิ์ที่ตัวรับ ( receptor ) เดียวกับเอสโตรเจน สารไฟโตรเอสโตรเจน พบมากในถั่วเหลือง และมีรายงานมากมายว่า สามารถมีฤทธิ์ลดการสร้างอนุมูลอิสระ ( Anti- oxidant ) ซึ่งอาจต้านมะเร็งและช่วยในโรคหัวใจ และมีรายงานว่าการทานธัญพืชและพืชตระกูลถั่วเหลืองสามารถลดอุบัติการณ์มะเร็งเต้านม ต่อมลูกหมาก และลำไส้ใหญ่ และช่วยให้โรคหัวใจดีขึ้น แต่ทั้งนี้ก็ยังไม่อาจสรุปได้ว่าการใช้กวาวเครือสามารถจะลดมะเร็งหรือป้องกันมะเร็ง ได้ แต่ก็มีงานวิจัยว่ากวาวเครือขาวไม่มีผลส่งเสริมต่อการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็งเต้านมหลายชนิด และยังอาจยับยั้งการเติบโตของเซลล์มะเร็งเต้านมบางชนิดได้ด้วย

ความปลอดภัย
ปัจจุบันกวาวเครือชนิดที่รับประทาน ได้รับอนุญาตให้ขึ้นทะเบียนเป็นตำรับยาแผนโบราณ และยาแผนโบราณสามัญประจำบ้าน ซึ่งมีกวาวเครือในปริมาณ ประมาณ 100 มก. เป็นที่ยอมรับว่าปลอดภัย ผ่านการวิจัยในความเป็นพิษระยะยาวในหนูทดลองแล้ว ( อ้างอิงที่ 12 ) และการใส่ร่วมกับสมุนไพร เช่น ตรีผลา คือ มะขามป้อม สมอไทย สมอพิเภก ก็มีในตำรับโบราณ ทั้งนี้ ตรีผลา ก็มีความเป็นสารต้านอนุมูลอิสระ ช่วยปรับสมดุลของร่างกาย การทานร่วมกับกวาวเครือ จึงช่วยให้มีสมดุลที่ดี

กวาวเครือจึงปลอดภัย ถ้ามีการรับประทานอย่างถูกต้องและเหมาะสม

การรับประทานกวาวเครืออย่างปลอดภัย
จะต้องมีการตรวจร่างกายที่จำเป็นก่อนการรับประทานได้แก่ ตรวจเต้านม ตรวจการทำงานของตับ และมดลูก ทั้งนี้เพราะกวาวเครือไม่เหมาะในผู้ที่เป็นโรคของเต้านม มดลูกและ ตับ โรคของเต้านมที่เป็นอยู่ก่อนจะห้ามรับประทานกวาวเครือโดยเด็ดขาดทุกชนิดไม่ว่าจะเป็น ซีสต์ เป็นพังผืด และการตรวจเต้านมยังเป็นการตรวจสกรีนหามะเร็งในเบื้องต้นด้วย นอกจากนี้ก็ควรตรวจมดลูกก่อน เพราะกวาวเครือ ก็ไม่น่าจะเหมาะสมในผู้ที่เป็นโรคในมดลูกทุกชนิดเช่นกัน เช่น พังผืด เนื้องอก รวมทั้งก้อนในมดลูก แม้จะเป็นคนที่ปวดประจำเดือนบ่อย ๆ ก็ไม่ควรรับประทาน

เมื่อรับประทานกวาวเครือ ควรมีการหยุดทานเป็นระยะในช่วง 7 วันสุดท้ายของแต่ละเดือนเหมือนกับการรับประทานยาคุมกำเนิด เพื่อให้โอกาสมดลูกได้พักและมีประจำเดือนตามปกติ และผู้ที่รับประทานกวาวเครือ ก็ควรได้รับการตรวจภายในและมะเร็งเต้านมเป็นระยะ ตามที่กำหนดไว้เช่น ทุก 6 เดือน หรือ หนึ่งปี

ข้อห้ามของการรับประทานกวาวเครือ
1. ผู้ที่เป็นโรคของทรวงอก เช่น เป็นซีสต์ เป็นพังผืด เป็นก้อน เป็นเนื้องอก เป็นมะเร็ง
2. ผู้ที่เป็นโรคของมดลูกและรังไข่ ทุกชนิด ทำนองเดียวกันกับทรวงอก
3. ผู้ที่ดื่มสุรา มีประวัติเป็นโรคตับ เป็นพาหะไวรัสตับอักเสบ บี ซึ่งมีโอกาสเป็นมะเร็งตับสูง
4. ไม่ใช้ในเด็กและสตรีมีครรภ์
5. สตรีวัยเจริญพันธุ์ ควรปรึกษาแพทย์

โดยสรุป กวาวเครือขาวจึงเป็นสมุนไพรที่มีคุณประโยชน์ และมีความปลอดภัยถ้ารู้จักใช้อย่างเหมาะสม ถือป็นสมุนไพรประจำชาติไทยที่มีคุณภาพสูงใคร ๆ ก็สู้ไม่ได้ และเป็นสมุนไพรที่นำชื่อเสียงมาให้ประเทศไทยอย่างแท้จริง


เอกสารอ้างอิง
1. หลวงอนุสารสุนทร. ตำรายาหัวกวาวเครือ. กรมการพิเศษ เชียงใหม่ โรงพิมพ์อุปะติพงศ์ พฤษภาคม 2474
2.ผลของกวาวขาว ( Pueraria mirifica Sahw et Suvatabandhu ) ต่อยุงก้นปล่อง
( Anopheles dirus Peyton, Harrison ) . Abstract 16th Conference on Science and Techonology of Thailand 25-27 October 1990:16
3. ฤทธิ์ในการคุมกำเนิดของกวาวขาวในหนูขาว. วารสารคณะวิทยาศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 2529-2530: 13-14 ( 2/1 ):75-78
4. ผลของกวาวเครือขาวต่อการสืบพันธ์ของนกพิราบ การประชุมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 18 กรุงเทพ ประเทศไทย 27-29 ตุลาคม 2535:178
5. ผลของสารสกัดสมุนไพรบางชนิดต่อการสืบพันธ์ของหนูขาวเพศเมีย การประชุมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 20 สงขลา ประเทศไทย 19-21 ตุลาคม 2537:280
6. สมุนไพร อาหารเสริม ฮอร์โมน เอกสารประกอบการสัมนาวิชาการ สมุนไพรกับสตรีวัยทอง. ราชวิทยาลัยสูตินรีแพทย์แห่งประเทศไทย ร่วมกับ สถาบันแพทย์แผนไทย 19-20 กรกฏาคม 2542 : 35-417.
7. ภาพรวมงานวิจัยและพัฒนากวาวเครือตั้งแต่อดีต 2524 ถึงปัจจุบัน 2541 : เอกสารประกอบการ สัมมนาวิชาการกวาวเครือ สถาบันแพทย์แผนไทย กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข 1 ธันวาคม 2541:13-25
8. การศึกษาเบื้องต้นเกี่ยวกับกวาวขาวในลูกสุนัข. ภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และฝ่ายสัตวแพทย์ กองสาธารณสุข เทศบาลนครเชียงใหม่ เชียงใหม่
9. พิษของกวาวเครือขาว ( Pueraria mirfica ) ต่อนกกระทาพันธ์ญี่ปุ่น. วารสารคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 2527; 11 ( 1-2 ) :46-55
10. อิทธิพลของกวาวเครือขาว ต่อนกกระทา การสร้างเม็ดเลือดแดงและเม็ดเลือดขาว วารสารเทคนิคการแพทย์เชียงใหม่ 2535; 25(3):107-14
11. การศึกษาผลของกวาวขาวที่มีต่ออวัยวะสืบพันธ์ต่อมหมวกไต ตับ และพฤติกรรมการสืบพันธุ์ในหนุขาวเพศผู้ วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 2527
12. พิษวิทยาของกวาวเครือขาว. ประมวลผลงานวิจัยด้านพิษวิทยา ของสถาบันวิจัยสมุนไพร เล่ม 2 กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข พิมพ์ครั้งที่ 1 ธันวาคม 2546