วันเสาร์ที่ 5 เมษายน พ.ศ. 2551

พืชมหัศจรรย์ใบบัวบก



พืชมหัศจรรย์ใบบัวบก


ใบบัวบก เป็นสมุนไพรที่มีคุณประโยชน์มากมาย มีชื่อทางพฤกษศาสตร์ ว่า Centella asiatica ( Linn. ) ชื่อพื้นเมือง ผักแว่น ผักหนอก ทางเหนือเรียก ปะหนะ เอขาเด๊าะ บัวบกเป็นพืชที่ปลูกได้ง่าย มีใช้ทั้งในตำราอายุรเวท และประเทศจีน และในแพทย์แผนไทย ในตำรายาไทย ระบุสรรพคุณของบัวบกโดยใช้ทั้งต้น ดังนี้ " แก้ช้ำใน บำรุงกำลัง บำรุงหัวใจ แก้อ่อนเพลีย เมื่อยล้า ขับปัสสาวะ แก้อาการเริ่มเป็นบิด ทำให้เลือดแผ่ซ่าน แก้ท้องร่วง เป็นยาขจัดเลือดเสีย แก้โรคผิวหนัง รักษาบาดแผล แก้พิษงูกัด แก้มุตกิต ระดูขาว " ( อ้างอิงที่ 1 ) สารสำคัญเป็นสารในกลุ่ม เทอร์ปีนอยด์ Terpenoids พวก ไตรเทอร์ปีน Triterpenes ในรูปไกลโคไซด์ ที่สำคัญคือ เอเซียติโคไซด์ ( Asiaticoside ) ใบบัวบกสามารถนำมารับประทานและรักษาแผลภายนอกได้

สรรพคุณทางวิชาการทางการแพทย์ที่น่าสนใจ
1. มีสารต้านอนุมูลอิสสระ และมีสารต้านมะเร็ง ( อ้างอิงที่ 1, 12 )
2. สามารถรักษาโรดกระเพาะได้ โดยสามารถลดขนาดของแผลในกระเพาะอาหารหนูได้อย่างมีนัยสำคัญ บอกถึงศักยภาพที่อาจจะทดลองนำมาใช้ในคนได้ ( อ้างอิงที่ 3 )
3. ลดความเครียด ( Anxiolytic ) โดยมีงานวิจัยที่เชื่อถือได้ ในคน ( double-blind, placebo-controlled trial ) อ้างอิงที่ 4 )
4. มีคุณประโยชน์ในผู้ป่วยเบาหวาน โดยเพิ่ม การไหลเวียนของเส้นเลือดฝอย การแลกเปลี่ยนออกซิเจนต่อเนื้อเยื่อ ทำให้ลดควาเมเสี่ยง ของการบวม เส้นประสาทเสื่อม เหน็บชา อ่อนแรง ในเบาหวาน ( อ้างอิงที่ 5,6 )
5. เพิ่มการไหลเวียนของเส้นเลือดฝอย การแลกเปลี่ยนออกซิเจนต่อเนื้อเยื่อ ทำให้ลดควาเมเสี่ยง ของการบวม ในผู้สูงอายุ ผู้ที่มีแรงดันในเส้นเลือดดำสูง หรือโรคเลือดคั่งขาบวมในผู้ที่เดินทางนานๆ ในรถหรือเครื่องบิน ( อ้างอิงที่ 7,8 )
6. อาจลดความเสี่ยงของ โรคริดสีดวง และ เส้นเลือดขอดที่ขา ( อ้างอิงที่ 9 )
บำรุงสมอง มีงานวิจัยแต่ยังเป็นในระดับสัตว์ทดลองว่าทำให้มีความคิดอ่านและโรคอัลไซเมอร์ดีขึ้นได้ ( อ้างอิงที่ 11, 12 )

ข้อห้ามและข้อควรระวัง
ไม่ควรรับประทานในเด็ก สตรีมีครรภ์ และคนที่เป็นโรคตับ เช่น ตับอักเสบที่มีเอนไซม์ตับสูง หรือตัวเหลือง หรือตับ

สรุป
ใบบัวบก เป็นพืชที่สารต้านอนุมูลอิสระ ( อ้างอิงที่ 12 ) มีทั้งความเป็นอาหารและมีสรรพคุณทางเภสัช พอที่จะนำมาเป็นอาหารเสริมสุขภาพ ลดความเสี่ยงการเกิดโรคบางโรคได้ และอาจพัฒนามาเป็นยาก็ยังได้ในปริมาณที่สูง คนไทยรับประทานกันมานานแสนนาน มีความปลอดภัย และเชื่อถือได้

เอกสารอ้างอิง
1. บัวบก : อรนุช โชคชัยเจริญพร จุลสารข้อมูลสมุนไพร 14 (2) : 2540
2. ผู้จัดการออนไลน์ 3 พ.ค. 47 16:03:23
http://www.manager.co.th/qol/viewNews.asp?newsid=4759613930582"
3. . A double-blind, placebo-controlled study on the effects of Gotu Kola (Centella asiatica) on acoustic startle response in healthy subjects. J Clin Psychopharmacol 2000 Dec;20(6):680-4
4. A double-blind, placebo-controlled study on the effects of Gotu Kola (Centella asiatica) on acoustic startle response in healthy subjects. J Clin Psychopharmacol 2000 Dec;20(6):680-4
5. Evaluation of treatment of diabetic microangiopathy with total triterpenic fraction of Centella asiatica: a clinical prospective randomized trial with a microcirculatory model. Angiology 2001 Oct;52 Suppl 2:S49-54
6. Treatment of diabetic microangiopathy and edema with total triterpenic fraction of Centella asiatica: a prospective, placebo-controlled randomized study. Angiology 2001 Oct;52 Suppl 2:S27-31 .
7. Microcirculatory effects of total triterpenic fraction of Centella asiatica in chronic venous hypertension: measurement by laser Doppler, TcPO2-CO2, and leg volumetry. Angiology 2001 Oct;52 Suppl 2:S45-8 .
8. Flight microangiopathy in medium- to long-distance flights: prevention of edema and microcirculation alterations with total triterpenic fraction of Centella asiatica. Angiology 2001 Oct;52 Suppl 2:S33-7 .
9. MacKay D. Hemorrhoids and varicose veins: a review of treatment options. Altern Med Rev 2001 Apr;6(2):126-40 .
10. Veerendra Kumar MH, Gupta YK. Effect of different extracts of Centella asiatica on cognition and markers of oxidative stress in rats. J Ethnopharmacol 2002 Feb;79(2):253-60 .
11. Effect of Centella asiatica on cognition and oxidative stress in an intracerebroventricular streptozotocin model of Alzheimer's disease in rats. Clin Exp Pharmacol Physiol 2003 May-Jun;30(5-6):336-42 .
12. Antioxidative behaviour of Malaysian plant extracts in model and food oil systems. Asia Pac J Clin Nutr 2004 Aug;13(Suppl):S72


ไม่มีความคิดเห็น: