วันเสาร์ที่ 5 เมษายน พ.ศ. 2551

ชาเขียวมีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่าCamellia Sinensis



ชาเขียวมีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่าCamellia Sinensis


มีสายพันธุ์มากกว่า 1200 สายพันธุ์ มีชื่อเรียกที่แตกต่างกันมากมาย ขึ้นอยู่กับแหล่งที่ปลูก เป็นทั้งไม่พุ่มและไม้ยืนต้น ที่มีอายุตั้งแต่ 60-300 ปี ไม้พุ่มทั่วไป จะมีการตัดแต่งให้เก็บยอดได้ง่าย มักจะสูงไม่เกิน 1.50 เมตร ที่เป็นไม้ยืนต้นที่มีอายุมากที่สุด พบที่ยูนนานของจีน มีอายุ มากกว่า 300 ปี มีความสูง 15-20 เมตร
ชาเขียวเป็นที่ยอมรับแล้วว่ามีกำเนิดจากประเทศจีน ในอดีตมีการค้าขายเดินเรือไปทั่วโลกทำให้ชาเขียวแพร่ไป ยุโรป อินเดีย บราซิล และที่อื่นๆ ชาเขียว ต้นเดียวกัน สามารถทำเป็นชาที่นิยมกันได้ ถึงสามชนิดคือ

- ชาเขียว ( Green tea )
- ชาอูหลง ( Oolong Tea )
- ชาดำ ( Black Tea )


ชาทั้งสามชนิดมาจากชาเขียวต้นเดียวกัน แต่ผ่านกรรมวิธีที่ต่างกัน เมื่อเก็บเกี่ยวใบชาออกมาจากต้นแล้ว คือ ชาเขียว เป็นชาที่ไม่ผ่านการหมัก เมื่อเก็บเกี่ยวแล้ว มีการอบความร้อน เพื่อไล่ความชื้น หรืออบไอน้ำ การอบความร้อนหรือไอน้ำจะยับยั้งเอนไซม์ที่ทำให้ชาถูกหมัก เมื่ออบแล้วจะนำมาคั่วแห้งและเก็บไว้ชงชา ชาอูหลงเป็นชากึ่งหมัก (Semi fermented) คือเมื่อเก็บเกี่ยวแล้ว ผึ่งความร้อนเพียงเล็กน้อย จะมีการนวดชาด้วยมือให้ช้ำ และเกิดเอนไซม์ เป็นการหมักเล็กน้อย ระยะหนึ่งจึงนำไปคั่ว ชาดำ จะถูกทิ้งให้ผ่านการหมักเต็มที่จนใบชากลายเป็นสีเข้ม ชาทั้งสามชนิด จะมีรสชาติที่ต่างกันออกไป แต่ชาเขียวจะมีคุณค่ามากที่สุดเพราะสารต้านอนุมูลอิสระไม่ถูกทำลายจากาการหมัก
ยังมีชาอื่น ๆ อีก เช่น ชาขาว ซึ่งก็เป็นชาเขียว แต่เด็ดแต่ยอดชาในเวลาไม่เกิน 48 ชั่วโมง ใบชาจะมีขนอ่อนและเป็นสีขาว จะมีคาเฟอีนน้อยที่สุด
ชาเขียว ให้ประโยชน์แก่ร่างกายมากมายหลายประการ โดยมี สารสำคัญที่ทำให้เกิดประโยชน์ ( Active health component ) เรียกว่า โพลีฟีนอล ( Polyphenols ) หรือเรียกกันทั่วไปว่า คาเทชิน ( Catechins ) ซึ่ง Catechins นี้จะมีปริมาณ 30-40 % ของส่วนที่เป็นของแข็งที่สามารถสกัดได้จากใบชาเขียวแห้ง ( อ้างอิงที่ 1 )
คาเทชินที่อยู่ในชาเขียว ประกอบไปด้วย Epigallocatechin-3-gallate (EGCG), Epicatechin-3-gallate, Epicatechin, Epigallocatechin, Gallocatechin gallate and Catechin ในทั้งหมดนี้ สารที่มีมากที่สุดก็คือ Epigallocatechin-3-gallate หรือ อี จี ซี จี ( EGCG ) ขนาดใบชาเขียวแห้ง 1 ซอง ( 1.5 กรัม ต่อซอง ) จะให้ EGCG ประมาณ 35 - 110 mg ( อ้างอิงที่ 2 ) EGCG นับได้ว่าเป็นสารต้านอนุมูลอิสระจากธรรมชาติ ที่มีประสิทธิภาพสูงที่สุดในชาเขียวและมีปริมาณมากที่สุด ( อ้างอิงที่ 3 ) มีความแรงของการต้านอนุมูลอิสระ มากกว่า วิตามิน C และวิตามิน E 25-100 เท่า การรับประทานชา ประมาณ 1 แก้วต่อวัน จะให้สารต้านอนุมูลอิสระ มากกว่าการรับประทาน แครอท บรอคเคอรี่ ผักโขม และสตรอเบอรี่ ในขนาดที่รับประทานในแต่ละมื้อ ( อ้างอิงที่ 29 ) และมีหลายงานวิจัยระบุว่ามีประโยชน์ต่อร่างกาย ดังนี้

1. ช่วยลดความอ้วน
ด้วยกลไกของการกระตุ้นปฏิกิริยาออกซิเดชั่นของไขมัน ( Stimulates fat oxidation ) มีรายงานวิจัยที่มีข้อมูลสนับสนุนว่า EGCG ช่วยเพิ่มกระบวนการ การเผาผลาญพลังงานของเนื้อเยื่อไขมัน และมีรายงานการทดลองในคนแล้วว่า ช่วยลดความอ้วนได้ ( อ้างอิงที่ 4-7 )

2. ช่วยลดไขมันในเลือด
แม้จะลดไขมันในเลือดได้ไม่มากนัก แต่ก็มีงานวิจัยที่ดีรองรับสองงานวิจัย ในงานวิจัยแรก พบว่า เมื่อรับประทานอาหารที่มีไขมันสูงการดื่มชาในปริมาณปานกลางหรือปริมาณมาก ร่วมด้วยจะลดปริมาณ ไขมันในเลือดชนิด ไตรกลีเซอไรด์ลงได้อย่างมีนัยสำคัญใน ช่วง 6 ชั่วโมงหลังทานอาหารและดื่มชา โดยลดการเพิ่มระดับของไขมันชนิด ไตรกลีเซอรไรด์ในเลือดได้ถึง 15.1-28.7% ( อ้างอิงที่ ,8 ) อีกงานวิจัยพบว่า ผู้ที่ดื่มชาประมาณ สองถ้วยต่อวัน สามารถลดไขมันในเลือดชนิดโคเลสเตอรอลลงได้เล็กน้อย (119 เป็น 106 มก/ดล.) แต่ก็มีนัยสำคัญทางคลินิก ( อ้างอิงที่ 9 )

3. ช่วยโรคเส้นเลือดอุดตัน
มีรายงานวิจัยว่า สารสำคัญในชาเขียว สามารถลดการหดเกร็งของเลือดฝอย ลดการเกิดตะกอน ( Plaque ) ในเส้นเลือดฝอย ทำให้ลดอุบัติการ ของโรค กล้ามเนื้อหัวใจตายจากการขาดเลือด ( Myocardial infarction ) และอัมพฤกษ์ อัมพาตจากเส้นเลือดตีบตัน ( Storke ) ( อ้างอิงที่10-14 ) นอกจากนี้ EGCG ยังเป็นตัวยับยั้งการเกิด การสันดาปOxidation ของโคเลสเตอรอล ทำให้ลดการเกิด การสะสมสร้าง ตะกอน ( Plaque ) ในเส้นเลือด จาก โคเลสเตอรอล ทำให้ลดการเกิด เส้นเลือดแข็งตัวตีบตัน ( atherosclerosis ) และลดอุบัติการณ์ของโรคเส้นเลือดหัวใจตีบ (Cronary atherosclerosis ) ( อ้างอิงที่ 15-17) ในงานวิจัยในสัตว์ทดลองยังลดการเกิดเส้นเลือดในปอดตีบตัน (Pulmoary Thrombosis) อีกด้วย (อ้างอิงที่ 13,18 ) ส่งให้เป็นผลดีต่อสุขภาพของหลอดเลือดหัวใจ

4. ต่อต้านอนุมูลอิสระ และ ต่อต้านมะเร็ง ( Antioxidant and Anticancer ) ( อ้างอิงที่ 19 )
ชาเขียวมีผลต่อการยับยั้งการเกิดมะเร็งได้หลายชนิดทั้งในคนและสัตว์ เพราะมีฤทธิ์ทางด้านการต้านอนุมูลอิสสระอย่างมาก การวิจัยทางระบาดวิทยาพบว่า ในกลุ่มผู้ที่ดื่มชาเขียวเป็นประจำจะมีอุบัติการณ์ของมะเร็งต่อมลูกหมาก กระเพาะอาหาร และมะเร็งผิวหนังลดลง ทั้งนี้เพราะสารสกัด ประเภทโพลีฟีนอลในชาเขียวมีผลยับยั้งมะเร็งจำนวนมากด้วยกลไกที่หลากหลาย โดยเฉพาะสารสำคัญตัวหนึ่งในชาเขียวคือ epigallocatechin-3-gallate (EGCG) เป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่มีคุณภาพสูงในชาเขียว ยังมีผลยับยั้งเซลล์มะเร็งต่อมลูกหมากของคนอย่างชัดเจน ปัจจุบันเป็นที่ยอมรับว่าการรับประทานชาเขียว มีผลยับยั้งการก่อมะเร็งได้หลายชนิด ที่มีงานวิจัยในสัตว์ทดลองพบว่าสามารถยับยั้งมะเร็งของ ผิวหนัง มะเร็งปอด มะเร็งช่องปาก มะเร็งหลอดอาหาร มะเร็งกระเพาะอาหาร มะเร็งตับ มะเร็งต่อมลูกหมาก (อ้างอิงที่ 20-24) สำหรับมะเร็งในคนที่มีงานวิจัยดีที่สุดคือ มะเร็งต่อมลูกหมาก มะเร็งผิวหนัง ตามมาด้วยมะเร็งเต้านม โดยพบว่า สาร EGCG สามารถลด การเติบโต เซลล์มะเร็งเต้านมในคนได้ และยับยั้งมะเร็งเต้านมของหนูได้ การวิจัยนี้ บอกถึงศักยภาพในอนาคตที่จะนำมารักษาผู้ป่วยมะเร็งเต้านม ( อ้างอิงที่ 25) และงานวิจัยล่าสุด ได้มีงานวิจัยโดยใช้สารสกัดชาเขียวในผู้ป่วยมะเร็งปอดเป็นครั้งแรก ซึ่งยังเป็นการทดลองเบื้องต้น พบว่าได้ผลเล็กน้อยเท่านั้น อย่างไรก็ตามมะเร็งปอดเป็นมะเร็งที่ดื้อต่อยาต้านมะเร็งมากที่สุดชนิดหนึ่งอยู่แล้ว แต่ก็บอกศักยภาพในการต้านมะเร็งของสารสกัดชาเขียวได้เป็นอย่างดี ( อ้างอิงที่ 26 )

5. ช่วยยับยั้งการเจริญเติบโตของแบคทีเรียได้หลายสายพันธ์ที่เป็นสาเหตุของโรคฟันผุ ทำให้ช่วยปกป้องโรคฟันผุได้ ( อ้างอิงที่ 27-28)
เมื่อบริโภคชาเขียวทั่วไป จะพบว่าในชาเขียว ยังมีสาร คาเฟอีน ซึ่งมีฤทธิ์กระตุ้นประสาท ทำให้ไม่ง่วงนอน จึงเป็นที่แนะนำว่า ไม่ควรรับประทาน ชา/กาแฟ ก่อนนอน เพราะจะทำให้นอนไม่หลับ และ ไม่ควรบริโภคในเด็ก แต่ในสารสกัดจากชาเขียว อีจีซีจี จะมีคุณประโยชน์เท่ากับชาเขียวคุณภาพดี 1 แก้ว แต่ จะมีสารคาเฟอีนในปริมาณที่น้อยมากๆ คือในปริมาณ เพียง 0.05 ม.ก. ซึ่งน้อยกว่าชาเขียวที่ชงดื่มทั่วไป ถึงประมาณ 900 เท่า ทำให้ไม่มีผลต่อการกระตุ้นประสาท หรือนอนไม่หลับ แต่อย่างใด

เอกสารอ้างอิง :
1. The Growth Factor, Vol No. 3 / 03 - Mita (P) No 214 / 04 / 2002 ; A Publication of Roche Vitamins Asia Pacific Pte Ltd.
2. Catechins in Green Tea, TEAVIGO TM Roche Vitamins Ltd, data on file
3. Antioxidant chemistry of green tea catechins., The University of Arizona, USA., Chem Res Toxicol.1999 Apr;12(4):382-6
4. TEAVIGO and modulation of obesity, EGCG attenuates body fat accumulation , TEAVIGO TM Roche Vitamins Ltd, data on file
5. Efficacy of a green tea extract rich in catechin polyphenols and caffeine in increasing 24-h energy expenditure and fat oxidation in humans, University of Geneva., Am J Clin Nutr. 1999 Dec;70(6):1040-5.
6. Green tea and thermogenesis: interactions between catechin-polyphenols, caffeine and sympathetic activity, University of Fribourg, Switzerland, Int J Obes Relat Metab Disord. 2000 Feb;24(2):252-8.
7. Anti-obesity effect of tea catechins in humans, J Oleo Sci 2001;50:599-605
8. Effect of tea catechins on postprandial plasma lipid responses in human subjects. Br J Nutr. 2005 Apr;93(4):543-7.
9. Effectiveness of moderate green tea consumption on antioxidative status and plasma lipid profile in humans. J Nutr Biochem. 2005 Mar;16(3):144-9
10. Tea flavonoids and cardiovascular diseases : a review. Crit Rev Food Sci Nutr 1997;37:771-785
11. Inhibitory effects of purified green tea epicatechins on contraction and proliferation of arterial smooth muscle cells, Acta Pharmacol Sin 2000;21(9):835-840
12. Tea catechins prevent the development of artherosclerosis in apoprotein E-deficient mice, J Nutr 2001;131:27-32
13. Antithrombotic activities of green tea catechins and ( - ) - Epigallocatechins Gallate, Thromb Res 1999;96:229-237
14. Possible contribution of green tea drinking habits to the prevention of stroke, Tohuku J Exp Med 1989;157:337-343
15. TEAVIGO and cardiovascular health, A potent antioxidant and antiatherogenic agent , TEAVIGO TM Roche Vitamins Ltd, data on file
16. Tea catechins inhibit cholesterol oxidation accompanying oxidation of low density lipoprotein invitro, Comp Biochem Physiol Part C 2001;128:153 164
17. Relationship between green tea consumption and the severity of coronary atherosclerosis among Japanese men and women, Ann Epidemiol 2000;10:401-408
18. TEAVIGO and cardiovascular health, A potent antithrombotic agent , TEAVIGO TM Roche Vitamins Ltd, data on file
19. Antioxidant effects of tea: evidence from human clinical trials. J Nutr 2003 Oct;133(10):3285S-3292S .
20. Molecular targets for green tea in prostate cancer prevention. J Nutr 2003 Jul;133(7 Suppl):2417S-2424S.
21. Inhibition of carcinogenesis by tea. Annu Rev Pharmacol Toxicol 2002;42:25-54
22. Green tea polyphenols and cancer chemoprevention: multiple mechanisms and endpoints for phase II trials. Nutr Rev. 2004 May;62(5):204-11
23. Mechanisms of cancer prevention by tea constituents. J Nutr. 2003 Oct;133(10):3262S-3267S
24. Anti-cariogenic properties of tea ( Camellia sinesis ), J Med Microbiol 2001;50:299-302
25. Catechins and the treatment of breast cancer: possible utility and mechanistic targets. IDrugs. 2003 Nov;6(11):1073-8.
26. Phase I study of green tea extract in patients with advanced lung cancer. Cancer Chemother Pharmacol. 2005 Jan;55(1):33-8. Epub 2004 Aug 7.
27. TEAVIGO and oral health, A natural antimicrobial agent , TEAVIGO TM Roche Vitamins Ltd,
28. Makimura M. et al., Inhibitory effect of tea catechins on collagenase activity, J Periodontol 1993;64:630-36

ไม่มีความคิดเห็น: